แนะนำให้อ่าน

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผักปลอดสารพิษด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำสกัดชีวภาพ

     ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

  1. ให้แร่ธาตุอาหารพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมครบถ้วนทุกชนิด การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จึงสามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้
  2. ช่วยให้ดินมีการดูดซับธาตุอาหารพืชได้สูง 
  3. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างกายภาพของดินให้ร่วนซุย ดินเหนียวมีการถ่ายเทน้ำและอากาศได้สะดวก
  4. ช่วยให้จุลินทรีย์ในดินทำงานได้ดี และมีปรริมาณมากขึ้น จุลินทรีย์ในดินเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อพืช ช่วยย่อยสลายให้ธาตุอาหารแก่พืช นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมเชื้อโรคพืชในดินได้ดี
  5. ช่วยแก้ใขปัญหาโรคพืชจุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างสารที่ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคพืขได้                                                                                                                      

ขั้นตอนการเตรียมดิน

       การเตรียมดินให้ถูกต้องนอกจากจะช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตสมบูรณ์แล้วยังเป็นการลดปัญหาจากศัตรูพืชที่อาจเกิดขึ้นในช่วงการผลิตได้เป็นอย่างดี

  1. ปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบไม่เป็นน้ำขัง
  2. พื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของหนูและศัตรูพืชต่างๆก็ควรขุดปรับทำลายแหล่งอาสัยให้หมด
  3. กำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่เดิมไม่ให้ขึ้นแข่งกับพืชที่ปลูกใหม่
  4. ไถเตรียมดินด้วยการไถลึก 1 ครั้ง แล้วตากดินไว้ 7 วันขึ้นไป จะทำให้ดักแด้ตัวอ่อนของแมลงและไส้เดือนฝอยถูกแดดเผาตาย เชื้อโรคพืชที่สะสมอยู่ในดินจะถูกแสงแดดทำลายน้อยลงและเมล็ดวัชพืชที่เคยฝังอยู่ในดินจะพลิกขึ้นมาถูกอากาศและรับแสงแดดแล้วงอกเป็็นต้นง่ายต่อการกำจัด

พันธุ์พืชผัก

        การเลือกใช้พันธุ์พืชผักที่ต้านทานและปลอดภัยจากเชื้อโรค เนื่องจากพืชผักแต่ละพันธุ์มีลักษณะแตก   ต่างกันไปเป็นผลจากการควบคุมโดยหน่วยพันธุ์กรรมในประเภทนั้นๆที่จะแสดงผลออกมาในใช้พันุ์พืชต้านทานศัตรูพืชนับว่าเป็นการลงทุนทีี่ต่ำที่สุด เมือเปรียบเทียบกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
         การเลือกพันธุืปลูก

  • เลือกพันธุืที่มีคุณภาพตรงตามตลาดต้องการ
  • เลือกพันธืให้เหมาะสมกับฤดูปลูกและสภาพดินฟ้าอากาสที่ปลูก                                                                            เชื้อโรคในเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ผักหลายชนิดมีโรคติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่น เชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรคเชื้อรา ทำให้เกิดโรคราน้ำค้าง ทำให้เกิดโรคใบจุด เชื้อโรคต่างๆที่ติดมากับพันธ์เมล็ดพืชเหล่านี้สามารถป้องกันและกำจัดได้โดยวิธีดังนนี้
  • แช่เมล้ดพันธุ์ผักในน้ำน้ำอุ่นที่มีอุณภูมิสูง 50-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-10นาทีการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำร้อนสามารถกำจัดเชื้อราสาเหตุต่างๆได้ และยังเป็นการกระตุ้นเมล็ดพันธ์งอกได้สม่ำเสมอช่วยลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์

การคัดเลือพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม

ื        1.1 แหล่งปลูก

  • ควรเป็นพื้นที่ราบมีความสม่ำเสมอ
  • ไม่เป็นแหล่งที่น้ำท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี
  • ใกล้แหล่งน้ำที่สะอาดและสะดวกแก่การนำมาใช้
  • การคมนาคมสะดวก สามารถนำผลผลิตออกสู่ตลาดได้เร็ว                                                          1.2 ลักษณะดิน
  • ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี
  • ค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมในการปลูกผัก ประมาณ 6.0-6.5                                              1.3  แหล่งน้ำ
  • ควรมีแหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน
  • มีน้ำเพียงพอ สำหรับใช้ตลอดปีหรือทุกฤดูการ                                                                                                          
ตำลึง โดยมากมักเห็นขึ้นเองตามธรรมชาติ แน่นอนว่าสามารถปลูกได้ง่ายมากเพียงแค่ดินมีความชุ่มชื้นเป็นอย่างดี เหมาะแก่การปลูกริมรั้วเป็นไม้เลื้อยตามรั้วบ้านได้เป็นอย่างดี ตำลึงเองยังเป็นสัญลักษณ์ของผักสวนครัวรั้วกินได้อีกด้วย
  •   มะเขือ เป็นพืชอีกชนิที่น่าปลูก เพราะว่าดูแลง่าย มะเขือมีหลายชนิด                                     ไม่ว่าจะเป็น มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือจาน มะเขือเทศ มะเขือ                                                มีขนาดลำต้นไม่สูงมาก เป็นพืชสวนครัวอีกชนิดที่น่าปลูกไว้
บวบ ลักษณะพิเศษของบวบ คือ ทนแล้ง ทนฝน ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน แต่มีข้อควรระวังคือ เมื่อแรกปลูกจนถึงขึ้นค้างจะมีแมลงชอบกัดยอด แต่พอทอดยอดขึ้นค้างแล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องแมลงอีกต่อไป ปลูกง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก ให้ขึ้นเลื้อยตามต้นไม้ได้เป็นอย่างดี

โหระพา และ แมงลัก ลักษณะของต้นโหระพาและแมงลักมีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกะเพรา โดยขนาดของทรงพุ่มก็ใกล้เคียงกันคือ มีความสูงไม่เกิน 60 เซนติเมตร ลักษณะต้นและใบคล้ายกัน จะต่างกันตรงกลิ่น และสีไม่เหมือนกันใบของโหระพานั้นใบเป็นมัน และหนากว่า ก้านใบและลำต้นมีสีม่วงแดง ส่วนใบของแมงลักมีสีเขียวอ่อน ก้านใบและลำต้นก็มีสีเขียวอ่อนเช่นกัน และมีขนอ่อนอยู่ตามใบและก้านดอก
ตะไคร้ พันธุ์ไม้บ้านไหนไม่มีตะไคร้ ถือว่าเชยมากเพราะมีประโยชน์ในการป้องกันหน้าดินด้วย ปลูกไว้ข้างๆ บ่อกันการกัดเซาะของน้ำได้ดีมากทีเดียวอีกทั้งไม่ต้องมีการดูแลมากแค่เพียงดินมีความชุ่มชื้นก็จะแตกหน่อออกมามากมาย
มะระ เป็นพืชผักล้มลุกลำต้นเป็นเถา ชอบดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง นับว่าเป็นพืชผักที่อายุสั้น ซึ่งถ้าหากนับจากวันเริ่มปลูกถึงวันเก็บผลผลิตได้ประมาณ 45-55 วันขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก แต่ก่อนที่จะปลูกต้องทำความเข้าใจว่าการปลูกมะระนั้น ต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเรื่องการดูแลกำจัดแมลง เนื่องจากเมื่อแมลงเข้าทำลาย จะทำให้ผลร่วงหรือแคระแกร็นได้
คะน้า การปลูกนี้ไม่ต้องขุดลึก เนื่องจากระบบรากของคะน้าไม่ลึกมาก ขุดพลิกดินตากแดดไว้ 7-10 วัน แล้วย่อยพรวนเป็นก้อนเล็กๆ การปลูกคะน้าใช้วิธีหว่านเมล็ดลงในแปลงได้เลย โดยวิธีการหว่านเมล็ดแบ่งออกเป็นสองวิธีคือ การหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งแปลง และวิธีโรยเมล็ดแบบเรียงแถว ซึ่งการเลือกปลูกวิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและความถนัด ยกร่องแทนสวนดอกไม้ก็ไม่เลว
พริกขี้หนู การปลูกพริกขี้หนูในลักษณะผักสวนครัวนั้นนิยมการหว่านเมล็ดลงในแปลงปลูก ไม่เหมือนกับการปลูกในลักษณะเป็นการค้าที่ต้องมีการเพาะกล้าก่อนแล้วจึงย้ายลงแปลงปลูก การดูแลรักษาพริกนั้นมีเทคนิคที่ควรจำเล็กน้อยคือ พริกเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก ถ้ามีความชื้นสูงไป ควรพรวนดินให้น้ำระเหยออกจากดิน ส่วนในกรณีที่ดินแห้งไป และไม่อาจให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอ ควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษา

ผักสวนครัวร้วกินได้

  • กะเพรา ยอดฮิตของการปลูกริมรั้วเพราะขึ้นง่าย สามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท นิยมปลูกตามข้างทาง ริมรั้ว มีกลิ่นหอม ไม้เป็นต้นเตี้ย สามารถปลูกได้ทั้ง กะเพราขาว และ กะเพราแดง มีสรรพคุณมากมายตั้งแต่ ราก ใบ เมล็ด เลยทีเดียว

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเลี้ยงตุ๊กแก

“ตุ๊กแก” แก้เซ็กซ์เสื่อม-บำรุงสุขภาพ

เมนูหายาก-- ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือน ก.ย.2552 ตุ๊กแกสายพันธุ์ใหม่อีกพันธุ์หนึ่งมีหน้าตาแบบมนุษย์ต่างดาว ในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ตุ๊กแกกำลังเป็นอาหารจานโปรดที่ได้รับความนิยมในเวียดนาม ยิ่งมีหน้าตาประหลาด ยิ่งมีสีสันประหลาดก็ยิ่งขายได้ราคาดี.
      
ไซ่ง่อนเถียบถิ - การกินอาหารจานแปลกถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเอเชีย ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นอาหารป่า โดยเฉพาะเมนูจากสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์โดยคิดว่ามีผลดีต่อสุขภาพและสมรรถภาพทางเพศ เช่น เสือ สำหรับบำรุงกำลัง หรือนอแรดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น แต่ในเวียดนามที่ไม่ว่าจะเป็นสัตว์จำพวกหนู กบ พังพอน หรือค้างคาว ก็เป็นเรื่องปกติที่จะพบเมนูเหล่านี้อยู่บนโต๊ะอาหารตามร้านต่างๆ ในเมือง 
      
    
   เมนูอาหารป่าล่าสุดที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คือ เมนูเนื้อตุ๊กแก โดยให้เหตุผลว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากร้านอาหารต่างๆ ในเมืองใหญ่ ทำให้ฟาร์มเลี้ยงตุ๊กแกผุดตามขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการตอนนี้
      
       ตุ๊กแกส่วนใหญ่จะขายในราคาตัวละ 20,000-40,000 ด่ง (1.2-2.5 ดอลลาร์) ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ซึ่งโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักราว 100-180 กรัม
      
       แต่ราคาอาจเพิ่มขึ้นเป็นสองหรือสามเท่าหากผู้ซื้อมีความเชื่อว่าสีผิวของตุ๊กแกเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพที่จะไปส่งเสริมในเรื่องสมรรถภาพทางเพศสำหรับผู้ชาย ช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้า และรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ
      
       นายฮวี่งหง็อกบิก (Huynh Ngoc Bich) เจ้าของฟาร์มตุ๊กแกใน จ.อานซยาง (An Giang) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงกล่าวว่า สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้สามารถเลี้ยงในกรงได้โดยไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด และผสมพันธุ์วางไข่ได้เช่นเดียวกับที่ทำในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
      
       ตุ๊กแกตัวเมียสามารถวางไข่ได้ 3 ครั้งต่อปี และวางไข่ครั้งละ 5-8 ฟอง นายบิกกล่าว
      
       พื้นที่ถัดไปจากแหล่งชุมชนเมือง ฟาร์มตุ๊กแกต่างผุดขึ้นมาอย่างมากมาย ทั้งใน จ.อานซาง จ.ด่งท้าป (Dong Thap) และ จ.ลองอาน (Long An)
      
       นายเหวียนวันเกย ( Nguyen Van Coi) จากนิคมหนุยโวย (Nui Voi) จ.อานซยาง กล่าวว่า เขามีที่อยู่ขนาด 3,500 ตารางเมตร เลี้ยงตุ๊กแกไว้อย่างน้อย 500 ตัว ที่พร้อมจะนำไปต้ม ย่าง หรือแล่เนื้อเพื่อนำไปปรุงอาหาร
เดือน ก.ย.2552 หลายปีมานี้มีการค้นพบตุ๊กแกสายพันธุ์ใหม่ๆ ในเวียดนามจำนวนมาก สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้ได้กลายเป็นเมนูจานเด็ด เริ่มมีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลายส่งป้อนชาวเปิบพิสดาร
ในภาคใต้เวียดนามมมีการทำฟาร์มเลี้ยงตุกแกหลากหลายสายพันธุ์ ยิ่งตัวแปลกๆ สีสันแปลก ก็ยิ่งมีสรรพคุณทางยาสูงดีและราคาแพง 
       นอกจากนั้นเขายังมีตราสินค้าเป็นของตัวเองในชื่อ “Gecko Bay Nui” มาจากคำว่า “Bay Nui” หรือภูเขาเจ็ดลูก ซึ่งที่เป็นชื่อที่ได้รับความนิยมทั่วทั้งจังหวัด
      
       ตุ๊กแกโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 22 เซนติเมตร มีความสามารถในการเกาะเกี่ยวและไต่ไปตามพื้นผิวต่างๆ มักจะออกหาอาหารในเวลากลางคืน และเชื่อกันว่าตุ๊กแกมีตาที่ 3 อยู่บนหัวที่ช่วยในการเปลี่ยนสีตามสภาพแวดล้อม ผิวตุ๊กแกจะมีสีเทาแซมสีน้ำตาลแดง และมีจุดแดงกระจายอยู่ สามารถทำให้สีผิวเข้มขึ้นหรืออ่อนลงได้
สุดท้ายตุ๊กแกกลายเป็นอาหารป่าอีกจานที่สร้างสีสันและความท้าทายแปลกใหม่ให้กับประสบการณ์การกินที่ไม่เหมือนใครในเวียดนาม
                                           

การเลี้ยงจิ้งหรีด


จิ้งหรีด เป็น แมลงเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย รสชาติอร่อย มีโปรตีนสูง อีกทั้งยังมีความต้องการทางตลาดสูง ส่วนใหญ่ ผู้เลี้ยงจะนำจิ้งหรีดมาเป็นอาหารโดยการแปรรูปคั่วหรือทอดขายตามตลาดทั่วไป หรือกระทั่งทำเป็นจิ้งหรีดอัดกระป๋องเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับจิ้งหรีดและ เพิ่มช่องทางการขาย วิธีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดทองดำนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากมากนัก ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงไม่มากเหมาะกับผู้ที่ต้องการหาอาชีพใหม่ๆ
การ เพาะเลี้ยงจิ้งหรีดตามวิธีการที่จะนำเสนอนี้เป็นวิธีที่สะดวก และลงทุนไม่มากเป็นการเพาะเลี้ยงในตู้ไม้ที่ทำขึ้นแบบโปร่งทำให้อากาศถ่ายเท ได้สะดวก สามารถทำความสะอาดและ ดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย อีกทั้งยังใช้ต้นทุนในการเพาะเลี้ยงไม่สูงอีกด้วย
วงจรการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด
อุปกรณ์การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด
  1. ไข่จิ้งหรีด การเลี้ยงครั้งแรกหาซื้อจากผู้ที่เพาะเลี้ยงอยู่แล้ว ต้นทุนอยู่ที่ 100 บาท/ตู้
    ไข่จิ้งหรีด
  2. ตู้ไม้ที่จะใช้เลี้ยงจิ้งหรีด ขนาด กว้าง 90 ซม. ยาว 160 ซม. สูง 80 ซม. ฝาด้านข้างบุด้วยไม้อัด ด้านล่างบุด้วยตาข่ายมุ้งลวด
    ตู้ไม้เลี้ยงจิ้งหรีด
  3. ลังไข่แบบกระดาษ 4-5 ลัง/ตู้
    ลังไข่
  4. จานสำหรับใส่ อาหาร, น้ำ ให้จิ้งหรีด
    จานสำหรับใส่ อาหาร น้ำ ให้จิ้งหรีด
วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีดตามช่วงวงจรชีิวิต
ช่วง ไข่-ตัวอ่อน
ระยะเวลาจากการฟักตัว จากไข่จิ้งหรีดเป็นตัวอ่อน จะใช้ระยะเวลา 7-10 วัน เมื่อฟักออกมาเป็นตัวอ่อนแล้วให้นำตัวอ่อนของจิ้งหรีด ไปใส่ในตู้เลี้ยงจิ้งหรีดที่เตรียมไว้ หากพื้นตู้ใช้ลวดตาข่ายปู ควร ใช้ผ้า ปูรองพื้นก่อน กันจิ้งหรีดตัวอ่อน ลอดตระแกรงออกไป ระวัง มด, จิ้งจก, ตุ๊กแก มากินตัวอ่อนจิ้งหรีด
การให้อาหาร ในระยะที่ จิ้งหรีดยังเป็นตัวอ่อนอยู่ ให้อาหารด้วย อาหารไก่สำหรับลูกเจี๊ยบ บดผสมกับ รำข้าว ในอัตรา 1/1 ส่วน
การให้น้ำ ในระยะที่เป็นตัวอ่อนการให้น้ำจิ้งหรีด ควรใช้ฟองน้ำซับน้ำให้ชุ่มแล้ววางในตู้เลี้ยงจิ้งหรีด ตัวอ่อนจิ้งหรีดจะมาดูดกินน้ำที่ฟองน้ำ ไม่ควรให้น้ำโดยใส่ ถ้วยหรือจาน เพราะจะทำให้ตัวอ่อนจิ้งหรีดจมน้ำ
ช่วงจิ้งหรีด ตัวอ่อน-โตเต็มวัย หลังตัวอ่อนจิ้งหรีดมีขนาดโตขึ้น ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ก็เอาผ้าที่ปูพื้นออก นำไปซักทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า (ห้ามใส่ผงซักฟอก) เพื่อเตรียมไว้ใช้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อนของจิ้งหรีดในช่วงต่อไป
การให้อาหาร ใช้อาหารไก่สำหรับลูกเจี๊ยบบดให้ละเอียด ผสมกับรำ ในอัตราส่วน 1/1 เช่นกัน นำใบมันสำปะหลัง, ใบฟักทอง, ผล ฟักทอง มาให้จิ้งหรีดกินเสริมได้ตามธรรมชาติ
การให้น้ำ ในระยะ ที่จิ้งหรีดเริ่มโต ให้น้ำโดยใส่ภาชนะก้นตื้น หรือจาน แล้ววางก้ิอนหินก้อนเล็กๆ ไว้ในจานเพื่อให้จิ้งหรีดเกาะกินน้ำได้ง่าย
ช่วง ผสมพันธ์-วางไข่ ในระยะจากตัวอ่อน-โตเต็มไว้ จะใช้เวลา 45-50 วัีนหลังจากจิ้งหรีดโตเต็มวัยแล้วจะเป็นช่วงผสมพันธ์ ต้องคอยสังเกตุหากจิ้งหรีดเริ่มผสมพันธุ์แล้ว อีกประมาณ 3-4 วันจิ้งหรีดจะเริ่มวางไข่ให้นำถาดใส่ขี้เถ้าแกลบวางไว้ในตู้ จิ้งหรีดจะขึ้นวางไข่บนถาดขี้เถ้าแกลบ
หลังจากที่จิ้งหรีดวางไข่ เสร็จแล้วให้นำไข่จิ้งหรีดในขี้เถ้าแกลบ ใ่ส่เก็บไว้ในกล่องโฟม อย่าให้แน่นเกินไปเก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อรอเพา่ะเลี้ยงในช่วงต่อไป ส่วนจิ้งหรีดที่โตเต็มวัยแล้ว ก็นำมาทอดกินหรือขายก็ได้ เมื่อเก็บจิ้งหรีดออกแล้วให้ทำความสะอาดตู้ไว้เพื่อรอเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วง ต่อไป

การเลี้ยงหมูหลุม

การเลี้ยงหมูหลุมแบบเกษตรธรรมชาติ
       “หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลี มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการ ปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
ประโยชน์การเลี้ยงหมูหลุม
  • ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 50 - 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และการใช้พืชผักนานาชนิด มาใช้เลี้ยงหมูเป็นหลัก
  • ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
  • ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู “ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน” ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  • ได้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกพืช
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
  1. ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  2. สร้าง โรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก
  3. วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่นใช้ไม้ยูคาฯ สำหรับทำเสาและโครงหลังคา ใช้ไม้โครงไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือกระเบื้อง
  4. พื้นที่สร้างคอกคำนวณ จาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2  ตารางเมตร 
  • คอกขนาด 2.5 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 4 ตัว
  • คอกขนาด 4 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 8 ตัว
ขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม
  1. ขุดดินออกในส่วนพื้นที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซ็นติเมตร
  2. ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร เพื่อกั้นดิน และฝนสาดลงในหลุม
  3. ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ซึ่งประกอบด้วย   
  • ขี้เลื่อย หรือแกลบ 100 ส่วน
  • ดินส่วนที่ขุดออก หรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน
  • เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน
  • รำละเอียด 1 ส่วน
ขั้นตอนการเตรียมพื้นคอกหมูหลุม
       แบ่งความลึกของหลุมเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ในแต่ละชั้น ให้เริ่มต้นจากการใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงไปก่อน ให้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ขุดหรือปุ๋ยคอก โรยทับด้วยรำละเอียดและเกลือ จากนั้นรดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้มีความชื้นพอหมาด (ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) ถ้าจะให้ผลดีต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุรองพื้นคอก ควรโรยดินที่มีเชื้อราขาวบาง ๆ (เชื้อไตรโครเดอร์มา) ในแต่ละชั้น ทำจนครบ 3 ชั้น ในชั้นสุดท้าย ให้แกลบหรือขี้เลื่อยสูงเพียง 20 เซนติเมตร เพราะชั้นบนสุดโรยแกลบปิดหน้าหนา 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูมาเลี้ยง
พันธุ์สุกร              
       ควรใช้สุกร 3 สายเลือดจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ และคัดสายพันธุ์มาสำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยได้ดี ลูกสุกรขุนหย่านมแล้ว อายุประมาณ 1 - 2 เดือน น้ำหนักประมาณ 15-20 กิโลกรัม
การจัดการเลี้ยงดู
  1. การนำลูกหมูมาเลี้ยง ควรมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 15 – 20 กิโลกรัม
  2. ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อนหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน เป็นอาหารผสมพวกรำ –ปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักหรือผักต่าง ๆ ในท้องถิ่น
  3. น้ำดื่มใช้น้ำหมักสมุนไพร,น้ำหมักผลไม้,อัตรา 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร
  4. ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอก สัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยลดกลิ่น
  5. หากขี้เลื่อยหรือแกลบภายในหลุมยุบตัวลง ให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม
การให้อาหาร
       ในช่วงหมูเล็ก(หลังจากหย่านมจนถึงน้ำหนัก 30 กิโลกรัม) จะใช้อาหารเม็ดของอาหารหมูอ่อน หรืออาจจะผสมอาหารหมูเล็กเอง(อาหารข้น) ซึ่งประกอบด้วยรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลืองและ ปลาป่น หรือใช้น้ำปลาหมักหรือน้ำหอยเชอร์รี่หมักแทนปลาป่นก็ได้ โดยนำไปผสมกับอาหารข้นในตอนที่จะให้หมูกินอาหาร เมื่อหมูน้ำหนัก 30 กิโลกรัมขึ้นไป จะให้รำ ปลายข้าว ผสมกับพืชหมัก ซึ่งพืชหมักคือ การนำเอาผักต่าง ๆ ต้นกล้วย ต้นถั่วเขียว กระถิน หรือหญ้าขน หญ้าเนเปียร์ มาหมักเป็นเวลา 7วัน และผสมกับปลาหมัก หรือหอยเชอร์รี่หมักเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนและแร่ธาตุให้กับหมู แทนปลาป่น ด้านน้ำดื่มจะใช้สมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาหมัก เพื่อให้หมูกินตลอดเวลา การทำน้ำหมักชีวภาพจะทำมาจากส่วนผสม บอระเพ็ด ตะโกส้ม สาบเสือ ตะไคร้หอม และมะกรูด ช่วยดับกลิ่น และช่วยบำรุงสุขภาพของหมู จะมีการราดน้ำหมัก และกลบปุ๋ยคอก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง   
       การเลี้ยงหมู 1 ชุด (5 ตัว) จะให้ปุ๋ยประมาณ 2,500 กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีปุ๋ยคอกไปใส่นาข้าว การเลี้ยงหมูชีวภาพจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน  ได้น้ำหนักประมาณ 100  กก.
วิธีการทำอาหารหมักหมูหลุม
  1. ใช้ต้นกล้วย หรือหญ้า นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ
  2. ผสมกับน้ำตาล ทรายแดง โดยใช้อัตราส่วน น้ำตาล 1 กิโลกรัมต่อต้นกล้วย หรือหญ้าสับ 25 กิโลกรัม และเกลือ 2.5 ขีด คลุกเคล้าให้ เข้ากันดี(หรือ ๑๐๐-๔-๑)
  3. ใส่ ใน ถัง-โอ่งหมัก  ปิดด้วยกระดาษ หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 4-5 วัน
การนำอาหารหมักมาใช้เลี้ยงหมู
       การนำอาหารหมัก โดยเฉพาะพืชหมัก ซึ่งเป็นอาหารเยื่อใยที่ตามปกติหมูจะย่อยได้น้อย แต่การนำมาหมักจะช่วยให้หมูใช้ประโยชน์จากพืชหมักได้มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการนำไปใช้เลี้ยงหมูควรคำนึงถึงอายุของหมูด้วย โดยมีหลักการใช้อาหารหมัก ดังนี้
  • หมูรุ่น (น้ำหนัก 30 – 60 กก.)
ใช้อาหารผสม 2 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 2-3 กก. ต่อวัน
  • หมูขุน (น้ำหนัก 60 – 100 กก.)
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 1 ส่วน ให้กินวันละ 4-6 กก. ต่อวัน
  • แม่หมูอุ้มท้อง
ใช้อาหารผสม 1 ส่วน ผสมอาหารหมัก 2 ส่วน ให้กินวันละ 3-4 กก. ต่อวัน
 
การทำน้ำหมักสมุนไพร
       น้ำหมักสมุนไพรที่นำมาผสมในน้ำดื่ม จะช่วยลดกลิ่นมูลของหมูได้เป็นอย่างดี โดยทำให้การเลี้ยงหมู ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีแมลงวัน
วิธีการทำ
  1. ใช้สมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า ขมิ้น บอระเพ็ด และใบเตย นำสมุนไพรทั้งหมดมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ
  2. นำสมุนไพร 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม หมักใส่ในถังพลาสติกหรือไห
  3. ปิดด้วยกระดาษ หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน
การนำมาใช้
         ใช้น้ำหมักสมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำสะอาด 10 ลิตร นอกจากนี้ยังสามารถนำไปรดพื้นคอกเพื่อลดกลิ่น โดยใช้น้ำหมัก สมุนไพร 3-4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร


การเลี้ยงเป็ดเนื้อ


การเลี้ยงเป็ดเนื้อ
         ปัจจุบันการบริโภคเนื้อเป็ดเป็นที่นิยมมากกว่าในอดีต เพราะสมัยก่อนคนไทยเลี้ยงเป็ดไว้เพื่อกินไข่เท่านั้น  เพื่อเป็นการลดรายจ่ายของครอบครัว ส่วนเนื้อเป็ดไม่นิยมนำมารับประทานเพราะมีกลิ่นสาบ  เนื้อน้อย แต่การเลี้ยงเป็ดเนื้อได้มีการพัฒนาโดยใช้เป็ดพันธุ์ปักกิ่งสีขาวมาเลี้ยง จึงเป็นที่นิยมของนักบริโภคทั้งหลาย  เพราะให้เนื้อเยอะ  ไม่เหนียว  และมีรสชาติดี ประกอบอาหารได้หลากหลาย
         เป็ดเนื้อที่คนนิยมเลี้ยง  คือเป็ดพันธุ์ปักกิ่ง  จะมีลักษณะรูปร่างใหญ่โต  ลำตัวกว้าง และหนา  ขนสีขาวล้วน  ปากสีเหลืองส้ม  แข้งและเท้าสีหมากสุก  ผิวหน้าสีเหลือง  เลี้ยงง่าย ให้ไข่ดีพอใช้  แต่ไม่ฟักไข่  จะมีนิสัยตื่นตกใจง่าย  เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม

การเลี้ยงลูกเป็ด

          โรงเรือนควรกันแดด  ลม  ฝนได้  ระบายถ่ายเทอากาศได้ดี  รักษาความสะอาดง่าย พื้นควรเป็นทราย หรือซีเมนต์  และควรปูแกลบเป็นวัสดุรองพื้น
          เมื่อลูกเป็ดอายุได้  7  วัน  ทำการฉีดวัคซีน  ลูกเป็ดอายุ  1-3  สัปดาห์ยังต้องให้ความอบอุ่น  ลูกเป็ดจะเกิดอาการตกใจง่าย ดังนั้นจึงต้องเปิดวิทยุทิ้งไว้ให้มีเสียงดังตลอดเวลา  และเพื่อเป็นการคลายเครียด
          อาหารที่ให้เป็นอาหารผสม  และให้กินพวกปลายข้าวผสมกับรำละเอียด ต้มใส่ถาดให้กิน  ส่วนน้ำต้องสะอาดผสมวิตามิน
          ในระยะนี้อย่าให้ลูกเป็ดลงเล่นน้ำในบ่อ  แต่ทำภาชนะใส่น้ำ เป็นบ่ออนุบาลให้ลูกเป็ดลงไปเล่น  แต่อย่าให้เล่นนาน  ลูกเป็ดจะหนาวและเป็นปอดบวมได้
          เมื่อเป็ดอายุครบ  2  เดือน  ควรแยกโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ดรุ่น  ทำเพิงมุงหลังคากันแดด กันลมและฝน  ควรเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง  แล้วยกเป็นเนินสูง  อีกด้านหนึ่งควรอยู่ริมน้ำ เพื่อให้เป็ดลงเล่นน้ำได้
          การให้อาหาร  ควรทำเป็นอ่างขนาดใหญ่  ให้เป็ดกินได้สะดวกและให้วันละ 2-3 ครั้ง  โดยใช้ปลายข้าว  รำหยาบ  รำละเอียด ผสมคลุกเคล้าแล้วให้น้ำคลุกอาหารให้เปียก  หรือจะให้ผักตกชวาเป็ดกินเป็นอาหารเสริมก็ได้
          เป็ดตัวเมียสามารถออกไข่ได้  แต่ไม่มากนัก  ส่วนมากไข่จากเป็ดเนื้อจะเก็บไว้เพื่อนำไปฟักเป็นลูกเป็ด

การจัดจำหน่าย
  :  เป็ดจะโตเต็มที่และจับขายได้เมื่ออายุได้  4-5  เดือน  โดยจะจับขายเป็นตัวๆ  ชั่งน้ำหนัก  ขายให้พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อ  ราคาของเป็ดเนื้อขึ้นอยู่ที่น้ำหนักและความนิยมของตลาดในแต่ละปี
          ขนเป็ดยังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมผลิตลูกขนไก่  หรือใช้ทำฟูกที่นอนได้ด้วย  เป็นอาชีพที่ให้ผลตอบแทนสูง  เหมาะกับการประกอบอาชีพ  เพื่อหารายได้ให้ครอบครัวเป็นอย่างดี

เคล็ดลับ 
 :  เอาใจใส่อย่าให้เป็ดมีอาการเครียด  โดยให้ลงเล่นน้ำ  โรงเรือนต้องโปร่งสบาย  ให้อาหารตลอดเวลา
      
 

การเลี้ยงเป็ดไข่

         การเลี้ยงเป็ดไข่
          “ไข่เป็ด”  เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง และนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี แต่ในปัจจุบันไข่เป็ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค  เพราะเป็ดไข่เลี้ยงค่อนข้างยาก หากเป็ดเกิดอาการตกใจหรือดูแลไม่ดีพอก็จะไม่ยอมไข่  การเลี้ยงเป็ดไข่นิยมเลี้ยงเป็ดพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์กากีแคมเบลล์กับพันธุ์พื้นเมือง เพราะเลี้ยงง่ายกว่า ทนทาน ให้ไข่ดกประมาณ  260  ฟองต่อปี  และให้เนื้อดี
          ลักษณะของเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ผสมกับเป็ดพื้นเมือง  จะมีขนสีน้ำตาล  ขนที่หลังและปีกมีสีสลับอ่อนกว่า  ปากดำค่อนข้างไปในทางเขียว จงอยปากต่ำ  ตาสีน้ำตาลเข้ม  ตัวเมียตัวโตเต็มที่หนักประมาณ  2-5  กิโลกรัม  จะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ  4  เดือนครึ่ง   
การเลี้ยงเป็ดไข่

          เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน  ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ  7  วัน  ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี  พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ
          โรงเรือนต้องแบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  เป็นลานกว้าง  มีหลังคา  กันแดด  กันลม  กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้  จัดที่ให้อาหารและน้ำ
          อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ  มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต  เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ  ออกกำลังกาย
          การให้อาหาร  คือ  หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว  คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ  3  ครั้ง  เช้า  กลางวัน  เย็น
          ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์  จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ  5  เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด  ตามแอ่ง  มุมต่าง ๆ  ของคอก
           วิธีการเก็บไข่  คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ  3  ฟอง  จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด  แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

การจัดจำหน่าย
          ไข่เป็ดที่คัดขนาดแล้ว  จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ  เพื่อนำไปส่งอีกทอดหนึ่ง  การเลี้ยงเป็ดไข่  จะเก็บไข่ขายได้ในระยะเวลายาว  ขายได้กำไรดี เพราะเป็ดสามารถไข่ได้นานถึง  2  ปี หลังจากที่เป็ดหมดระยะไข่แล้ว  ยังสามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ เพื่อประกอบอาหารได้อีกด้วย

เคล็ดลับ 
          เป็ดไข่ที่ไม่ไข่ สามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ  มูลเป็ดทำเป็นปุ๋ย ในบ่อน้ำใช้เลี้ยงเป็ดยังสามารถเลี้ยงปลาได้  โดยไม่ต้องเปลืองค่าอาหารเป็นการเพิ่มรายได้ทางอ้อม
 

การเลี้ยงไก่เนื้อ

              การเลี้ยงไก่เนื้อ   เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง  หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้  เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา  บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก
          เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย  มีราคาถูก  นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป  นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง  ในการเลี้ยงไก่เนื้อ  ผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจว่าจะเลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์อะไร  ขนาดของฟาร์มเท่าใด  วางแผนในเรื่องของโรงเรือน  เครื่องมืออุปกรณ์  ค่าแรงงาน  ค่าน้ำ และค่าไฟ
          สำหรับบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะทำหน้าที่ผลิตลูกไก่เนื้อ  บริการอาหาร  การให้วัคซีน  การขนส่งหรือให้คำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเลี้ยงดู  จนสามารถจำหน่ายได้  พร้อมให้ผลตอบแทนแก่ผู้เลี้ยงตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
การเลี้ยงไก่เนื้อ
          สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว  มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง  14  เมตร  ยาว 100  เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี  ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม  กันหนู  และงูได้
          ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ  แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค  และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ  พักเล้าไว้ประมาณ  10  วัน  แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
          นำไก่เนื้อเกรด  A  อายุ  1  วัน  มาเลี้ยงในเล้ากก  ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ  100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ  เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น
          เมื่อครบ  10  วัน  ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิ่น  และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย  21 %  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ  3  สัปดาห์
          เมื่อไก่อายุครบ  48-50  วัน  น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ  2.2  กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน  5 %  ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้การจัดจำหน่าย
          บริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะมารับซื้อไก่เนื้อที่ฟาร์ม  เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือทำการแปรรูป  แล้วส่งขายต่อตามตลาดสดต่าง ๆ

เคล็ดลับ 
          การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี  ต้องรักษาความสะอาด  การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม  เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ  เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้
                                          

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง


เรื่องที่ 1 วัตถุดิบอาหารที่ใช้เลี้ยงและสูตรอาหารไก่พื้นเมือง

             อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ข้าวเปลือก ปลายข้าว และรำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีอยู่ในท้องถาน นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอาจใช้ข้าวโพด ใบกระถินบดให้ละเอียด กากถั่วเหลือง และปลาป่น ฯลฯ
             โดยหลักการแล้ว ไก่พื้นเมืองต้องการอา หารที่ดีมีคุณภาพที่มีพร้องทั้งไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งมีพร้อมในอาหารสำเร็จรูป แต่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนบท จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรับประทานในครัวเรือน โดยปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ จะมีการให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกโปรยให้กินก่อนไก่พื้นเมืองเข้าโรงเรือน แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ต้องการให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตเร็ว ขายได้ราคาดี ควรให้อาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามที่ไก่พื้นเมืองต้องการ อาจใช้หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 2 (หัวอาหาร 1 ส่วน ปลายข้าว 2 ส่วน รำ 2 ส่วน) หรืออาจใช้สูตรอาหารต่อไปนี้

สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่พื้นเมือง
แรกเกิด จนถึงอายุ 2 เดือน สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 2 เดือนขึ้นไป
     1. หัวอาหารอัดเม็ดสำหรับไก่ระยะแรก 8 กิโลกรัม
     2. รำรวม 8 กิโลกรัม
     3. ปลายข้าว 10 กิโลกรัม 1. รำรวม 38 กิโลกรัม
     2. ปลายข้าว 60 กิโลกรัม
     3. เปลือกหอยป่น 2 กิโลกรัม

เรื่องที่ 2 การฟักไข่ไก่พื้นเมือง
        ปกติแล้วแม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มให้ไข่ เมืออายุประมาณ 6-8 เดือน จะไข่เป็นชุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ ปีละ 4 ชุด ชุดละ 8-12 ฟอง แม่ไก่พื้นเมืองเมื่อไข่หมดชุดแล้วจะเริ่มฟักไข่
ก่อนที่แม่ไก่พื้นเมืองจะฟักไข่ ควรฆ่าไรและเหาเสียก่อน โดยจับแม่ไก่พื้นเมืองจุ่มน้ำยาฆ่าไรและเหา เพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนในยามฟักไข่การฟักไข่นั้นแม่ไก่พื้นเมืองจะกกไข่ตลอดคือ และออกหาอาหารกินในตอนเช้า ตอนกลางวันแม่ไก่พื้นเมืองจะขึ้นกกไข่วันละ 2 ชั่วโมง แล้วออกจากรังไปหากินอาหารสลับกันอยู่อย่างนี้ เมื่อแม่ไก่พื้นเมืองกกไข่ได้ประมาณ 5-7 วัน ควรเอาไข่มาส่องดูเชื้อ โดยใช้กระดาษแข็งม้วนเป็นรูปกระบอก เอาไข่ไก่พื้นเมืองมาชิดที่ปลายท่อด้านหนึ่ง แล้วยกขึ้นส่องดูกับแสงแดดหรือส่องกับหลอดไฟนีออนก็ได้ ไข่ที่มีเชื้อจะเห็นเป็นจุดสีดำอยู่ข้างในและมีเส้นเลือดสีแดงกระจายออกไป ส่วนไข่ที่ไม่มีเชื้อจะใสมองไม่เห็นเส้นเลือด ต้องคัดออกและนำไปเป็นอาหารได้ (โดยการต้ม)         การคัดไข่ที่ไม่มีเชื้อออกจะเป็นการช่วยให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ที่มีเชื้อได้ดีขึ้นและได้ลูกไก่พื้นเมืองมากขึ้น การส่องไข่เมื่อแม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ได้ 5-7 วันแล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรส่องเมื่อฟักไข่ได้ 14 และ 18 วันอีกครั้ง เพื่อคัดไข่เชื้อตายหลังจากฟักการส่องครั้งแรกออกมา
ในการฟักไข่นั้น แม่ไก่พื้นเมืองจะใช้เวลาฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 21 วัน เมื่อลูกไก่พื้นเมืองฟักออกหมดแล้ว ควรเอาวัสดุที่รองรังไข่รวมทั้งเปลือกไข่เผาทิ้งเสีย และทำความสะอาดรังไข่ไว้สำหรับให้แม่ไก่พื้นเมืองไข่อีกต่อไป
เรื่องที่ 3 การเลี้ยงและการดูแลลูกไก่พื้นเมือง
        เมื่อลูกไก่พื้นเมืองออกจากไข่หมดแล้ว ควรให้แม่ไก่พื้นเมืองเลี้ยงลูกเอง โดยย้ายแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองลงมาขังในสุ่มหรือในกรงในระยะนี้ควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าว หรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่พื้นเมืองกินและมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
เมื่อลูกไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกไก่พื้นเมืองแข็งแรงดีแล้ว จึงเปิดสุ่มหรือกรงให้ลูกไก่พื้นเมืองไปหากินกับแม่ไก่พื้นเมืองได้โดยธรรมชาติแม่ไก่พื้นเมืองจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แยกลูกไก่พื้นเมืองออกจากแม่ไก่พื้นเมือง โดยนำไปเลี้ยงในกรงหรือแยกเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักตัวเตรียมไข่ในรุ่งต่อไป
ลูกไก่พื้นเมืองอายุ 2 สัปดาห์ที่แยกออกจากแม่ไก่พื้นเมืองใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยังป้องกันตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงต่างหากในกรงเพื่อให้แข็งแรงปราดเปรียว และเมื่อมีอายุได้ 1 ? -2 เดือนจึงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระยะนี้ลูกไก่พื้นเมืองจะมีการตายมากที่สุดผู้ที่เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องน้ำ อาหาร และการป้องกันโรค
เรื่องที่ 4 การเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่
        การเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้กินไข่ มีการจัดการง่าย ๆ แต่ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องเอาใจใส่พอสมควร เริ่มจากแม่ไก่พื้นเมืองเริ่มไข่ ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองต้องเอาใจใส่พอสมควร เริ่มจากแม่ไก่พื้นเมืองเริ่มไข่ ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองสังเกตว่าถ้าแม่ไก่พื้นเมืองไข่ดก แม่ไก่พื้นเมืองจะชอบไข่ในตอนเช้า พอรุ่งเช้าขึ้นก็จะไข่อีก 1 ฟอง ให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองเก็บไข่ฟองเก่าออก และให้เก็บทุก ๆ วันที่แม่ไก่พื้นเมืองไข่ โดยให้เหลืออยู่ในรังเพียงฟองเดียว แม่ไก่พื้นเมืองก็จะไข่ไปเรื่อย ๆ
ถ้าผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองสังเกตเห็นว่า แม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มฟักไข่กล่าวคือจะกิจอาหารน้อยลงเพื่อบังคับตัวเองไม่ให้ไข่ต่อไป จะต้องรีบแยกแม่ไก่พื้นเมืองมาขังไว้ต่างหาก ซึ่งผู้ที่เลี้ยงไก่ควรมีที่ไว้สำหรับขังแม่ไก่พื้นเมืองไม่ให้ฟักไข่ได้ หลังจากนั้น หาอาหารที่มีโปรตีน เช่น รำ ปลายข้าว และปลายป่น หรือถ้าหาอาหารไก่ไข่ให้กินได้จะดีมาก แล้วเอาไก่พื้นเมืองตัวผู้เข้าไปขังรวมไว้ด้วยประมาณ 4-5 วัน แม่ไก่พื้นเมืองจะเริ่มให้ไข่อีก ซึ่งผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบนี้จะได้ไข่ไก่พื้นเมืองตลอดเวลาและเป็นวิธีการเลี้ยงเพื่อกินไข่โดยเฉพาะ แต่ถ้าเลี้ยงไก่พื้นเมืองโดยที่ผู้เลี้ยงลืมปล่อยให้แม่ไก่พื้นเมืองเริ่มฟักไข่ไปได้ประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงแยกแม่ไก่พื้นเมืองออก จะต้องเสียเวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ แม่ไก่พื้นเมืองจึงจะเริ่มไข่ใหม่

การเลี้ยงไก่ใข่

วิธีเริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่

            ผู้เลี้ยงที่ยังไม่มีความรู้ความชำนาญงานประเภทนี้ ควรเริ่มต้นหัดเลี้ยงด้วยไก่จำนวนน้อย เพื่อศึกษาหาความรู้ความชำนาญเสียก่อน สำหรับผู้ที่มีความรู้ความชำนาญแล้ว อาจเริ่มต้นเลี้ยงตามขนาดของทุนและสถานที่ ถ้าเริ่มต้นด้วยไข่ฟัก หรือลูกไก่ ก็ย่อมลงทุนถูก หากเริ่มต้นด้วยไก่ใหญ่ ก็อาจะต้องใช้ทุนมากขึ้น โดยทั่วไปผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากระยะไหนก็ได้ อาทิเช่น
          1. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่มีผู้เลี้ยงนิยมกันมากเนื่องจากทุนน้อย ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง สามารถที่จะดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูงตลอดเวลา จึงทำให้ได้ฝึกฝนการเลี้ยงไก่และมีความมั่นใจในการเลี้ยงไก่มากขึ้น แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยากและใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง อีกทั้งยังต้องเสี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ และจะต้องรอไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 22 สัปดาห์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไข

          2. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน โดยการที่ผู้เลี้ยงซื้อไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ - 2 เดือน มาจากฟาร์มหรือบริษัทที่รับเลี้ยงลูกไก่ เนื่องจากลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนัก และสามารถตัดปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูลูกไก่และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงดูก็ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรก จึงสมควรเริ่มเลี้ยงด้วยวิธีนี้

          3. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะกับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องลงทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่นำมาเลี้ยงเสมอ เพราะช่วงที่ไก่ยังเป็นลูกไก่และไก่รุ่นผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้


การเลี้ยงดูไก่เล็ก

การเลี้ยงดูไก่เล็ก (อายุ 1 วัน-16 สัปดาห์)

          การเลี้ยงไก่ในระยะนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก ต้องดูแลและเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อให้ลูกไก่มีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง และอัตราการเลี้ยงรอดสูง ควรจัดการดังนี้
 
          1. เมื่อนำลูกไก่มาถึงฟาร์มต้องนำเข้าเครื่องกกโดยเร็วที่สุด และเตรียมน้ำสะอาดพร้อมให้กินทันที ถ้าลูกไก่ยังไม่รู้จักที่ให้น้ำต้องสอนโดยการจับไก่เอาปากจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง ควรผสมยาปฏิชีวนะหรือวิตามินให้ลูกไก่กินติดต่อกัน 2-3 วันแรก แต่ถ้าลูกไก่มีลักษณะนอนฟุบ อ่อนเพลียมาก ควรผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำผสมยาปฏิชีวนะในอัตรา 5-10% ในระยะ 12 ชั่วโมงแรก
          2. เมื่อลูกไก่เข้าเครื่องกกได้ 2-3 ชั่วโมง หรือลูกไก่เริ่มกินน้ำได้แล้วจึงเริ่มให้อาหารไก่ไข่เล็ก โดยโปรยลงบนถาดอาหาร พร้อมทั้งเคาะถาดเพื่อเป็นการเรียกลูกไก่ให้มากินอาหาร โดยให้กินแบบเต็มที่ ให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้งอย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง
          3. ให้แสงสว่างในโรงเรือนเพียง 1-3 วันแรกเท่านั้น เพื่อให้ลูกไก่คุ้นเคยกับสถานที่ แต่ไฟที่ให้ควรเปิดสลัวๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เดินเล่นห่างเครื่องกก ภายในเครื่องกกต้องมีแสงไฟอยู่ตลอดเวลาในระยะ 1-3 สัปดาห์
          4. หมั่นตรวจดูแลสุขภาพไก่โดยสม่ำเสมอ ตรวจอาหารและน้ำ ขวดน้ำต้องล้างและเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน เปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่ชื้นแฉะ และระวังอย่าให้ลมโกรก แต่อากาศต้องถ่ายเทได้สะดวก

          5. ขยายวงล้อมกกให้กว้างออกไปตามความเหมาะสมทุกๆ 5-7 วัน พร้อมทั้งยกเครื่องกกให้สูงขึ้นเล็กน้อย และปรับอุณหภูมิของเครื่องกกให้ต่ำลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮด์
          6. ทำวัคซีนตามกำหนด
          7. ตัดปากลูกไก่เมื่ออายุ 6-9 วัน โดยตัดปากบนออกประมาณ 1 ใน 3 ของปาก และจี้ปากล่างด้วยใบมีดร้อนๆ
การตัดปาก มีจุดประสงค์เพื่อ
เครื่องตัดปากไก่
1.
เพื่อป้องกันการจิกกัน
2.
เพื่อลดประมาณการสูญเสียอาหารหกหล่น
การตัดปากที่ถูกวิธ
1.
จับลูกไก่ไว้ในอุ้งมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่หลังหัวลูกไก่
2.
ใช้นิ้วหัวแม่มือกดหัวลูกไก่ให้อยู่นิ่ง
3.
เลือกขนาดรูตัดที่เหมาะสมเพื่อตัดปากลูกไก่ประมาณ 2 มม. จากปลายจมูก
4.
ใบมีดตัดปากต้องร้อนจนแดง เมื่อกดใบมีดตัดปากไก่แล้วจะต้องคงค้างไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อช่วยห้ามเลือด
                  การตัดปากไก่ไม่ดีนอกจากทำให้ไก่กินอาหารและน้ำลำบากแล้ว ปริมาณไข่จากไก่ตัวนั้นย่อมลดลง ดังนั้น การตัดปากควรทำอย่างประณีต ระยะเวลาตัดปากที่ดีที่สุดประมาณ 7-10 วัน ควรตัดปากให้ระยะจากจมูกออกมาไม่ต่ำกว่า 2 มม. ถ้าพบว่าการตัดปากไม่ดีควรทำการแต่งปากเมื่ออายุไม่เกิน 10 สัปดาห์
          8. เมื่อกกลูกไก่ครบ 21 วัน ให้นำวงล้อมและเครื่องกกออก แต่ต้องระวังอย่าให้ลูกไก่ตื่น เพื่อป้องกันการเครียดก่อนจะเปิดวงล้อมออกต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้
 
-
ที่ให้อาหาร ใช้แบบถังแขวนในอัตรา 3-4 ใบต่อไก่ 100 ตัว
-
ที่ให้น้ำ ใช้แบบถังแขวน ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว แต่ทั้งที่ให้อาหารและที่ให้น้ำ ต้องคอยปรับให้อยู่ในระดับความสูงเท่ากับหลังไก่เสมอ
          9. การให้กรวด กรวดมีความสำคัญต่อไก่ ในการช่วยบดอาหารที่มีขนาดโตให้ละเอียดขึ้น โดยเริ่มให้ไก่กินกรวดตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยให้สัปดาห์ละครั้งๆ ละ ครึ่งกิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว
          10. ควบคุมและป้องกันสัตว์อื่นๆ ไม่ให้มารบกวน
          11. เริ่มชั่งน้ำหนักไก่จำนวน 5% ของฝูงเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ จดบันทึกปริมาณอาหาร จำนวนไก่ตาย คัดทิ้ง สิ่งผิดปกติ การปฏิบัติงาน การใช้ยาและวัคซีนเป็นประจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาและคำนวณต้นทุนการผลิต