แนะนำให้อ่าน

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เก็บดอกรักขายพืชทำเงิน


"ดอกรัก” หรือในบางท้องถิ่นเรียกปอเถื่อน, ปั๋นเถื่อน ที่มักพบตามที่ว่างริมทางหรือหัวไร่ปลายนาที่มีแดดจัด พบทั้งดอกสีขาว และสีม่วง โดยการใช้ประโยชน์จากดอกรักนั้น มีความผูกพันมากับขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยมานานเช่นเดียวกับชื่อที่เป็นไม้นามมงคลมีความหมายถึงความรัก ดังจะพบว่าดอกรักจะถูกนำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น มาร้อยทำอุบะมาลัย หรือ ร้อยมาลัยทำเครื่องมงคลถวายพระ หรือสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสำคัญ แม้กระทั่งใบต้นรักเองยังถูกมารองในขันสินสอด และขันเงินในพิธีแต่งงาน
 
อย่างการปลูกต้นรักเพื่อเก็บดอกรักจำหน่ายเป็นการค้านั้น หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า “ดอกรัก” ที่นำมาร้อยมาลัยนั้นเป็นสายพันธุ์ที่เราเห็นขึ้นตามริมถนน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “รักแก้ว” ดอกจะมีลักษณะอ้วน ป้อม ดอกเล็ก และมีน้ำหนักน้อย ไม่เป็นที่นิยมของตลาดร้อยมาลัย เช่นเดียวกับดอกรักสีม่วง แต่ตลาดจะมีความนิยมใช้ดอกรักสีขาวพันธุ์ “จิ้งจก” ซึ่งลักษณะของดอกตูมจะดูคล้ายกับปากจิ้งจก ดอกจะมีสีขาวใส มันวาว ทรงดอกยาวใหญ่ และมีน้ำหนักคล้ายกับดอกรักที่ทำมาจากพลาสติก เกษตรกรเก็บดอกรักจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 10-300 บาท 
 
ซึ่งราคาจะแพงในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา แล้วราคาจะสูงมากในช่วงฤดูหนาวราวเดือนตุลาคม-มกราคมของทุกปี ดอกรักจะมีราคาสูงมาก เพราะเป็นช่วงต้นรักจะให้ดอกน้อย การขยายพันธุ์ต้นรักที่นิยม คือ การปักชำด้วยกิ่ง โดยตัดกิ่งต้นรักให้มีความยาวราว 30-40 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกกว้าง, ยาวและลึก 30 เซนติเมตร จากนั้นวางท่อนพันธุ์ให้เฉียง 45 องศา ราว 3-5 กิ่ง โดยจะปลูกระยะ 3x3 เมตร ควรปลูกในช่วงฤดูฝนราว 2-3 เดือน ต้นรักก็จะสามารถเก็บดอกจำหน่ายได้ เกษตรกรที่มีความชำนาญในช่วงเช้าในแต่ละวันจะสามารถเก็บดอกรักได้ราว 3-5 กิโลกรัม
 
การเก็บดอกรักควรระวังยาง เนื่องจากยางของต้นรักเป็นเอนไซม์ประเภทหนึ่งจะค่อนข้างเป็นอันตรายมีฤทธิ์กัดกร่อน หากถูกผิวหนังหรือเข้าปากก็จะทำให้ระคายเคือง แสบคัน มีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียนและถ่ายอย่างแรง หากถูกศีรษะก็จะทำให้ผมร่วงได้ หรือ หากยางกระเด็ดเข้าตา จะทำให้ตาพร่ามัวหรือตาบอดได้จึงต้องระวังอย่างยิ่ง หากโดนยางของต้นรักบริเวณผิวหนังต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันที หากยางเข้าตาหลังจากล้างน้ำแล้วให้รีบไปพบแพทย์ ในการป้องกันยางต้นรักสำหรับเกษตรนั้นจะต้องแต่งกายให้มิดชิด ใส่แว่นตา สวมหมวก ใส่ถุงมือ เช่น อาจจะใช้ถุงหิ้วพลาสติกแทนถุงมือ และอาจจะนำลูกโป่งมาใส่นิ้วมือแทนปลอกนิ้ว เป็นต้น เพื่อให้ปลอดภัยจากยางต้นรัก
 
ในทางประโยชน์ด้านสมุนไพรนั้น ตำรา ยาแผนโบราณจะใช้ ดอก แก้ไอ แก้หืด เปลือกต้น ทำให้อาเจียน เปลือกราก แก้บิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน ยาง ยาถ่ายอย่างแรง แก้ปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อน แต่อย่างไรควรศึกษาวิธีการใช้จากผู้รู้ให้ดีเสียก่อน.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 1 พฤษภาคม 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=197792&NewsType=1&Template=1

ชะอมพืชปลูกง่าย


งินลงทุน :   ครั้งแรกประมาณ 2,500 บาท/ไร่ (ไม่รวมค่าที่ดิน) (กิ่งพันธุ์ถุงละ 3-5 บาท)
รายได้ :   ประมาณ 2,000 – 2,500 บาท/ไร่
วัสดุ/อุปกรณ์ :   กิ่งพันธุ์ ปุ๋ย จอบ ถุงพลาสติก กรรไกร
แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ :
-
ร้านจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการเกษตรทั่วไป
-
กิ่งพันธุ์ หาซื้อได้ตามร้านเพาะชำกล้าไม้
วิธีดำเนินการ :
1.
การปักชำกิ่งชะอม ต้องเลือกกิ่งที่มีลักษณะไม่อ่อนไม่แก่เกินไป โดยดูลักษณะจากสีกิ่งจะมีสีขาวจนถึงขาวอมเขียว หรือกิ่งที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี นับแต่วันที่แตกยอดออกมา แต่ต้องไม่ เป็นกิ่งที่แก่จัดจนเกินไป เพราะรากและยอดจะแตกน้อย
2.
ใช้มีดคม ๆ ตัดเป็นรูปปากฉลามเฉียงประมาณ 45 องศา ต้อง ตัดครั้งเดียวให้ขาดและไม่แตกความยาวประมาณ 6-7 นิ้ว
3.
การเตรียมดิน ต้องเป็นดินค่อนข้างร่วน ไม่เหนียวมาก ไม่เป็นทรายจัดถ้าเป็นดินที่ได้จากเศษใบไม้ใต้ต้นฉำฉาจะดีมาก
4.
นำดินที่เตรียมไว้แล้วมากรอกใส่ถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 2.5 x 7 นิ้ว เจาะรูสองข้างเพื่อให้ระบายน้ำได้ดี ต้องกรอกดินใส่ให้เต็ม กดให้แน่น
5.
นำเอากิ่งมาปักชำลงในถุงให้จมลงไปครึ่งหนึ่งของกิ่งทั้งหมด ในลักษณะเอียงเล็กน้อย แต่ละถุงจะปักชำลงไป 2 กิ่ง แล้วกดดินให้แน่น ถ้าดินยุบให้เติมดินให้เต็มก่อน จึงนำไปวางไว้ในร่มรำไร รดน้ำทุกวันเช้า-เย็น
6.
ประมาณ 15 วัน กิ่งชะอมจะแตกยอดออกมายาวประมาณ 4-5 นิ้ว ให้แยกชะอมมาวางเป็นกลุ่ม ๆ อย่าให้หนาแน่นเกินไป ดูแลให้ครบ 1 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกหรือจำหน่ายได้
7.
การปลูกต้นชะอมให้ขุดดินเป็นร่องยาวให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกัน 1.5 เมตร แต่ละหลุมวางระยะให้ห่างประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อนำถุง ชะอมลงปลูกแล้ว ก็กดดินให้แน่น รดน้ำบ่อย ๆ จนถึง 1 เดือน ชะอมก็จะตัดยอดจำหน่ายได้
8.
การดูแลชะอมในแปลงที่ตัดยอดขายนั้น ต้องให้ปุ๋ยยูเรีย อัตราไร่ละ 3 กิโลกรัม หว่านในร่องทุก ๆ 2 สัปดาห์ รดน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งให้ดินชุ่ม ชะอมจะแตกยอดให้เก็บได้ทุกวัน

ตลาด/แหล่งจำหน่าย :   ตลาดสด แหล่งชุมชน ขายส่งร้านขายผักหรือร้านอาหาร
ข้อแนะนำ :
1.
การนำกิ่งที่นำมาชำต้องเป็นกิ่งที่ตัดมาจากต้นสด ๆ ไม่ทิ้งค้างคืน การแตกรากและยอดจะสมบูรณ์ภายในระยะเวลาอันสั้น
2.
การปักชำควรระวังเรื่องการปักชำผิดด้าน ถ้าเอาด้านปลายลงชะอมจะใช้เวลาแตกยอดแตกรากนานกว่ากิ่งที่ใช้โคนปักและกิ่งจะไม่แข็งแรง



วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มาปลูกดอกดาวเรืองกันเถอะ

ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง
ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย
แหล่งปลูก ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ
ลักษณะทั่วไปของดาวเรือง
   ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปผู้จักกันดี แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า "ดอกคำปู้จู้" ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี
ชนิดของดาวเรือง
   ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
   1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds ) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริการ ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่
      พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น
      พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น
      พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น
   2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้มเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีกานดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่
พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น
พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น
   3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Mariglds หรือ Afro American Marigolds)
เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลุกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องเมล็ดมรเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ
ดาวเรืองลุกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์(Red Seven
star) และโชว์โบ๊ต (Showboat) 
พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับในประเทศไทย
   1. พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม
   2. พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม
   3. พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง
   4. พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยลับเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีทองเบอร์ 1 พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลือง
ขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลลิตสูงพอสมควร
การขยายพันธุ์ดาวเรือง
   1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ
การเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1
   การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบ
การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
      1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม
      2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง
      3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้
   2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้จากการเด็ดยอดทิ้ง ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบเพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลงหรือถุงหักชำแล้ว นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หากควบคลุมความชื้นได้ดี ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน 3-4 วัน และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งรากจะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้
การปลูกดาวเรือง 
   การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้
   1. การเตรียมแปลงปลูก 
ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน
   2. วิธีการปลูก
      1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
      2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
      3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา
   3.การปฏิบัติดูแลรักษา
      1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
      2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
      3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ
      4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ 1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่นั้น มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ
   4. การตัดดอก
ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15 ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้น
ควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว
ศัตรูที่สำคัญของดาวเรือง
โรค 
โรคที่สำคัญและพบบ่อย ๆ คือ
   1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
   2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง
   3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง
แมลง
      1. เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง
      2. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท,แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด
การใช้ประโยชน์
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้
   1.ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น และมีอายุการใช้งานนาน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา สบายใจ
   2.ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง
เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน)แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
   3.ปลูกเพื่อจำหน่าย
     3.1 ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดอกดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ หรือพวงมาลัยสำหรับคล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ การตัดดอกดาวเรืองสำหรับใช้ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น ๆ หรือให้เหลือเฉพาะดอก
     3.2 ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบ และมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขกตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ
     3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคารสถานที่กันมากขึ้น เพาะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคารบ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้ ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลง พอดอกดาวเรืองเริ่มบาน ก็นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้
     3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น
ต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนและการตลาด
   1. ต้นทุนการผลิต การปลูกดาวเรืองในแปลงปลูกโดยทั่วไปต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยค่าเมล็ดพันธุ์(เมล็ดละประมาณ 60 สตางค์ 1 บาท ) ปุ๋ย สารเคมี และแรงงาน โดยเฉลี่ยต้นทุนในการผลิตดาวเรืองประมาณไร่ละ 19,120 บาท แต่ถ้าเป็นการปลูกดาวเรืองในถุงพลาสติกหรือปลูกในกระถาง ต้นทุนจะแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ปลูก โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนการผลิตประมาณกระถางละ 5-8 บาท
   2. ผลตอบแทนและราคาจำหน่าย การปลูกดาวเรืองในแปลง พื้นที่ 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 37,258 ดอก ราคาโดยเฉลี่ยประมาณดอกละ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนในการปลูกดาวเรืองประมาณไร่ละ 37,258 บาท
   3. ตลาดและแหล่งรับซื้อ แหล่งรับซื้อดาวเรืองที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ฯ คือ ตลาดปากคลองตลาด ส่วนตลาดอื่น ๆ เช่น สวนจตุจักร นิยมรับซื้อดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น ตลาดเทเวศร์ ลาดพร้าว สะพานควาย บางเขน และตามศูนย์การค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต
ส่วนในต่างจังหวัดนั้น สามารถนำดาวเรืองไปจำหน่ายได้ตามตลาดสดทั่วไป และจะมีพ่อค้าไปรับซื้อในท้องที่ที่ปลูกดาวเรือง จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดกรุงเทพ ฯ


วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการกำจัดหอยเชอรี่

หอยเชอรี่ หอย

โข่งอเมริกาใต้ หรือหอยเป๋าฮื้อน้ำจืด มีลักษณะเหมือนหอยโข่งแต่ตัวโตกว่า จากการดูด้วยตาเปล่าสามารถแบ่งหอยเชอรี่ ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลืองและพวกมีเปลือกสีเขียวเข็มปนดำและมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน
หอยเชอรี่ เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2-3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่นตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2-3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามประมาณ 388-3,000 ฟอง ไข่จะผักออกเป็นตัวหอยภายใน 7-12 วัน หลังวางไข่ ลักษณะการทำลาย
หอยเชอรี่กินพืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิด เช่นสาหร่าย ผักบุ้ง ผักกระเฉด แหน ตัวกล้าข้าว ซากพืชน้ำ และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำ โดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอหอยเชอรี่จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุประมาณ 10 วัน มากที่สุด โดยเริ่มกันส่วนโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดิน 1-11/2 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมดใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบนานประมาณ 1-2 นาที
การป้องกันกำจัด
หอยเชอรี่เป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญมาก สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทนทาต่อความแห้งแล้งและยังลอยตัวไปตามน้ำไหลได้อีกด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันกำจัดหอยเชอรี่อย่างต่อเนื่อง และจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นควรทำหลาย ๆ วิธีผสมผสานกัน ดังนี้ 1. วิธีกล
เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีที่สุด ประหยัด ปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1.1 การจัดเก็บทำลาย เมื่อพบตัวหอยและไข่ให้เก็บทำลายทันที
1.2 การดักและกั้น
- ตามทางน้ำผ่าน ให้ใช้สิ่งกีดขวางตาข่ายเฝือก ภาชนะดักปลา ดักจับหอยเชอรี่
- ลูกหอยที่ฟักใหม่ ๆ สามารถลอยน้ำได้ ควรใช้ตาขายถี่ ๆ กั้นขณะสูบน้ำเข้าข้าว หรือกั้นบริเวณทางน้ำไหล
1.3 การใช้ไม้หลักปักในนาข้าว
การล่อให้หอยมาวางไข่โดยใช้หลักปักในที่ลุ่มหรือทางที่หอยผ่าน เมื่อหอยเข้ามาวางไข่ตามหลักที่ปักไว้ทำให้ง่ายต่อการเก็บไข่หอยไปทำลาย


1.4 การใช้เหยื่อล่อ พืชทุกชนิดใช้เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ได้ หอยจะเข้ามากินและหลบซ่อนตัวพืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่น ๆ ที่มียางขาวคล้ายน้ำนม



2. โดยชีววิธี
2.1 ใช้ศัตรูธรรมชาติช่วยกันกำจัด
ฝูงเป็ดเก็บกินลูกหอย
2.2 อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
โดยปกติในธรรมชาติมีศัตรูหอยเชอรี่อยู่หลายชนิดที่ควรอนุรักษ์ เช่น นกกระยาง นกกระปูด นกอีลุ้ม นกปากห่าง และสัตว์ป่าบางชนิด ซึ่งสัตว์เหล่านี้นอกจากจะช่วยทำลายหอบเชอรี่แล้ว ยังทำให้ธรรมชาติสวยงามอีกด้วย 3. การใช้สารเคมี
กรณีที่หอยระบาดมาก หรือในแหล่งที่ไม่สามารกำจัดด้วยวิธีการอื่นได้ สารเคมียังมีความจำเป็น แต่มีข้อควรระวังเรื่องเปลือกหอยที่ตายอาจจะบาดเท้าผู้ที่ลงไปปฏิบัติงานบริเวณนั้นได้
3.1 สารคอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) ชนิดผงสีฟ้าเป็นสารที่ใช้ป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่ได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพสูง ราคาถูกและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้สารนี้ในอัตรา 1 ก.ก./ไร่ ละลายน้ำแล้วฉีดพ่นด้วยเครื่องพ่นสารเคมี หรือรดด้วยบัวให้ทั่วแปลงนาที่มีระดับน้ำสูงไม่เกิน 5 ซ.ม. สามารถกำจัดหอยเชอรี่ได้ภายใน 24 ช.ม.
3.2 สารเคมีนิโคลซาไมด์ 20 % อีซี (ไบลูไซด์) อัตรา 160 ซี.ซี./ไร่ ผสมกันน้ำแล้วฉีดพ่นในนาข้าวที่มีระดับน้ำสูงไม่เกิน 5 ซ.ม.
3.3 สารเคมีเมทิลดีไฮด์ ชื่อการค้า แองโกลสลัก เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปใช้หว่านในนาข้าว อัตรา 0.5 ก.ก./ไร่ ประโยชน์
เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34-53 เปอร์เซ็นต์ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างหรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกถ้านำไปฝั่งบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้ผลผลิตดี
ไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 


 


ปลาไหล

ปลาไหล เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยและเทศนิยมบริโภค เป็นปลาที่มีรสชาติดี สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

กินปลาไหลแล้วอายุยืน

เนื้อ ปลาไหลมีวิตามินอีสูง คนญี่ปุ่น จีน และเกาหลี นิยมบริโภค จัดเป็นอาหารที่มีระดับ ราคาแพง ที่คนญี่ปุ่น คนจีน และเกาหลี นิยมสั่งมารับประทานเนื่องในโอกาสพิเศษเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่า บริโภคเนื้อปลาไหลแล้วจะแข็งแรง แก่ช้า และมีอายุยืน เป็นต้น

ปลาไหล ที่คนญี่ปุ่น จีน และเกาหลี นิยมบริโภคนั้นเป็นปลาไหลทะเล ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าAnguilla japonicus ในประเทศไทยส่วนใหญ่พบทางใต้ของประเทศไทย เช่น สงขลา ตรัง สตูล ปัตตานี ระนอง ภูเก็ต กระบี่ และพังงา ในชื่อของ ปลาตูหนา (ภาพที่ 1) ปลาไหลหูดำ ปลาสะแงะ เอียนหู

ปลาไหลชนิดนี้เป็นปลาสองน้ำ ผสมพันธุ์และวางไข่ในทะเล แต่จะเข้ามาเจริญเติบโตในแม่น้ำลำคลอง พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2469 จับได้จากคลองบางกะปิ กรุงเทพฯ มีความยาวประมาณ 65 เซนติเมตร เมื่อ ปี 2547 หลังจากที่ได้มีการเปิดเขื่อนปากมูน ได้พบปลาตูหนา 2 ตัว ในบริเวณบ้านแสนตอ เข้าใจว่าเป็นปลาจากแม่น้ำโขง และเข้าไปทางแม่น้ำมูล



ปลาไหลน้ำจืด

ปลาไหลน้ำจืดมี หลายชนิด ที่สำคัญและคนไทยส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภค ได้แก่ ปลาไหลนา ที่สามารถนำไปปรุงอาหารพื้นบ้านได้หลากหลาย เช่น แกงเผ็ด ต้มยำ ผัดเผ็ด ต้มเปรต เป็นต้น สำหรับคนทางภาคใต้ ขนมจีนน้ำยาปลาไหลจัดว่าเป็นอาหารชั้นดี ที่พี่น้องชาวมุสลิมนิยมทำเลี้ยงแขกในเทศกาลสำคัญทางศาสนา

ปลาไหล นา (ภาพที่ 2) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ชื่อ Monopterus albus, Zuiew (1973) ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาล ท้องมีสีเหลืองทอง มีขนาดโตที่สุดที่พบมีความยาวถึง 1.01 เมตร เป็นปลาไหลที่พบมีอยู่ตามหนอง บึงต่างๆ ทุกภาคของประเทศไทย แม้แต่บนเกาะสมุยฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย หรือบนเกาะศรีอหยา อำเภอเมืองกระบี่ เป็นปลาที่สามารถเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ในดินและน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด สูง (pH ต่ำ) เช่น ในพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น ปลาไหลนาเป็นปลาที่สามารถปรับตัวให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนจาก สภาพปกติได้ เพราะลำไส้ส่วนท้ายได้พัฒนาให้เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ เงือกมีกระดูกหุ้มที่มิดชิด ลำตัวมีเมือกหุ้มมากทำให้ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้ง หรือการขาดน้ำได้อย่างดี ฤดูแล้งจะขุดรูอยู่อาศัยลึก 1-1.5 เมตร ชอบออกหากินในเวลากลางคืน

เปลี่ยนเพศได้

ปลา ไหลนา มีวงชีวิตที่แปลกและแตกต่างไปจากปลาน้ำจืดทั่วๆ ไป ก็คือ ปลาไหลในช่วงแรกที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 28 เซนติเมตร นั้น จะเป็นปลาไหลเพศเมียทั้งสิ้น แต่เมื่อโต มีความยาวระหว่าง 28-45 เซนติเมตร ปลาไหลจะมีสองเพศในตัวเดียวกัน คือมีทั้งรังไข่ และถุงน้ำเชื้อ ที่สามารถผสมกันเองภายในตัวหรือกับตัวอื่นก็ได้ เมื่อปลาไหลมีอายุมากขึ้น มีความยาวตั้งแต่ 46 เซนติเมตร เซลล์เพศเมียจะเสื่อมสลายไป เหลือแต่เซลล์เพศผู้เท่านั้นที่ยังเจริญและทำหน้าที่สร้างเชื้อตัวผู้ได้ตาม ปกติ ช่วงนี้ช่องเพศจะสีขาวซีดไม่บวม ลำตัวตัวยาวเรียว สีเหลืองคล้ำ


กินอาหารหลากหลาย

ปลา ไหลเป็นปลาที่ชอบกินอาหารที่มีสภาพสดจนถึงเน่าเปื่อย ตัวหนอน ตัวอ่อนแมลง หอย ไส้เดือน และสัตว์หน้าดินต่างๆ มีนิสัยรวมกลุ่มกันกิน


เพาะง่าย

ปลา ไหลนาเพาะได้ทั้งในบ่อดิน หรือบ่อซีเมนต์ ไม่จำกัดขนาดและรูปร่าง เช่น บ่อสี่เหลี่ยม ขนาด 5 x10x1 เมตร (ภาพที่ 3) หรือปลอกซีเมนต์ ก็สามารถนำมาใช้เพาะปลาไหลได้ เพียงแต่จัดระบบนิเวศน์ในบ่อเพาะให้ใกล้เคียงกับปลาตูหนา 2 ตัวนี้พบตามธรรมชาติมากที่สุด ด้วยการใส่ดินเหนียวหนา 30 เซนติเมตร ให้ดินสูงด้านใดด้านหนึ่ง ปลูกพรรณไม้น้ำ ใส่น้ำสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ใส่พ่อแม่ ตารางเมตรละ 4 ตัว ให้ปลาสดสับผสมน้ำมันตับปลากินวันละ 1 มื้อ มื้อละ 3 เปอร์เซ็นต์ ต่อน้ำหนักตัว ให้กินตอนเย็น ถ่ายเทน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ปลาไหลจะต้องใช้เวลาปรับตัว 2-4 เดือน เมื่อปลาไหลพร้อมจะผสมพันธุ์ ปลาไหลเพศผู้จะสร้างหวอดไข่สีขาว (ภาพที่ 4) มีช่องว่างอยู่ตรงกลางคล้ายขนมโดนัท ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์วางไข่ในตอนใกล้รุ่ง หลังจากก่อหวอด 7-10 วัน ก็รวบรวมลูกปลาไหลขนาดเล็ก นำไปอนุบาลต่อไป


ฤดูวางไข่

ปลา ไหลนาเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และจะมีความสมบูรณ์สูงสุดในเดือนสิงหาคม ปริมาณความดกของไข่ปลาไหลขึ้นอยู่กับขนาดของปลา เช่น ปลาขนาด 20-60 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 300-400 ฟอง ถ้ายาวกว่า 60 เซนติเมตร จะมีไข่ประมาณ 1,000 ฟอง


การพัฒนาของไข่

ไข่ปลาไหลนาเป็นลักษณะไข่ จมไม่ติดวัสดุ เมื่อสัมผัสจะมีความยืดหยุ่นมาก มีสีเหลืองทองสดใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบหู อายุ 5-6 วัน ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบหูหายไป และเริ่มกินอาหารได้ (ภาพที่ 5) อัตราการฟัก 70-80 เปอร์เซ็นต์


การอนุบาลลูกปลา อายุ 7-10 วัน

นำ ลูกปลาวัยอ่อนอายุ 7-10 วัน ที่ฟักออกเป็นตัวไปอนุบาลในกะละมังพลาสติกทรงกลม ปล่อยลูกปลาอัตราความหนาแน่น 350 ตัว ต่อตารางเมตร ใส่น้ำลึก 15 เซนติเมตร ใส่ต้นผักจอกเพื่อให้ลูกปลาเกาะ ควรมีการถ่ายเทน้ำ 2-3 วัน ต่อครั้ง อาหารใช้ไรแดง ให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อมีอายุได้ 6 สัปดาห์ จะมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ก็จะกินเนื้อปลาบดได้ พร้อมฝึกให้กินอาหารสมทบ โดยฝึกให้กินอาหารกึ่งเปียกสำเร็จรูป โดยปั้นเป็นก้อนๆ ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ควรมีการคัดขนาดเพื่อช่วยลดการกินกันเองด้วย


การอนุบาลลูกปลา ขนาด 5-10 เซนติเมตร

เมื่อ อนุบาลปลาจนได้ขนาด 5 เซนติเมตร ปลาจะมีขนาดปากที่กว้างขึ้น ลดไรแดง และให้อาหารสมทบวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น โดยปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกปลา นอกจากนี้ อาจผสมน้ำมันปลาหมึกเพื่อช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้น และควรมีวัสดุหลบซ่อนโดยใช้ท่อเอสล่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6/8 นิ้ว ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 20 เซนติเมตร บ่อละ 3-5 ท่อน ลูกปลาค่อนข้างตกใจได้ง่ายถ้ามีเสียงดัง ใช้เวลา 6 สัปดาห์ ก็จะได้ปลาขนาด 10 เซนติเมตร ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1-2 กรัม สามารถแยกลงบ่อเลี้ยงต่อไป


การเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์หลังบ้าน

ปลา ไหลนาเลี้ยงง่าย ใช้เนื้อที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ในบ่อซีเมนต์ ขนาด 2.0x3.0 เมตร และท่อซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1.0 เมตร บริเวณหลังบ้านได้ บ่อควรมีท่อระบายน้ำออก ผนังบ่อด้านในควรฉาบให้ลื่น รองพื้นบ่อด้วยฟางประมาณ 30 เซนติเมตร ใส่ดินหนาประมาณ 10เซนติเมตร เพื่อสร้างอาหารธรรมชาติ ในระหว่างที่หมักฟางข้าว ถ้าน้ำเสีย ต้องถ่ายเทน้ำทิ้ง แล้วเติมน้ำใหม่ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เมื่อมีไรแดง หนอนแดง เกิดหนาแน่นแล้ว ก็ปล่อยปลาไหลลงเลี้ยงได้ ปลาที่ปล่อยเลี้ยงในระยะแรก นิยมใช้ปลาขนาด 5.0 นิ้ว (30-40 ตัว ต่อกิโลกรัม) ปล่อยในอัตราความหนาแน่น ประมาณ 100 ตัว ต่อลูกบาศก์เมตร ปลาที่ปล่อยเลี้ยงแต่ละรุ่นควรเป็นปลาให้มีขนาดที่ใกล้เคียงกัน

ระยะ เวลาเลี้ยงประมาณ 6-8 เดือน ในระหว่างที่เลี้ยงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ เติมฟางข้าวทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โซ่อาหารธรรมชาติเกิดอย่างต่อเนื่อง อาหารสมทบจะใช้ปลาเป็ด หรืออาหารปลาดุกก็ได้แล้วแต่สะดวก ให้อาหารวันละครั้ง ในปริมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ ต่อน้ำหนักตัว ควรให้ในในช่วงเย็น หลังจาก 6 เดือน จะได้ปลาขนาด 3-5 ตัว ต่อกิโลกรัม

ถ้าเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปลาดุก เล็ก จะมีอัตราแลกเนื้อ 2.35 ส่วนการเลี้ยงด้วยปลาสดสับ อัตราแลกเนื้อ 7.8 อัตราการรอดตาย 80-90 เปอร์เซ็นต์


โรคและการป้องกัน

ปลา ไหลที่เลี้ยงในบ่อมีปริมาณค่อนข้างหนาแน่น มีการให้อาหาร ถ้าจัดการไม่ดี คุณภาพของน้ำและดินอาจจะเน่าเสีย ปลาที่เลี้ยงอาจติดเชื้อแบคทีเรีย รา ได้ โรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเป็นแผลตามตัวที่มักพบในปลาขนาดใหญ่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas และ Pseudomonas punctata ปลาที่เป็นโรคจะมีผิวหนังบวมแดง บางตัวผิวหนังจะเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจนเห็นกล้ามเนื้อ

โรคท้องบวม ส่วนใหญ่จะพบในปลาไหลขนาด 10-15 เซนติเมตร ปลาที่เป็นโรค ผิวหนังเป็นรอยช้ำตกเลือดสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในบ่อปลาไม่ดี ทำให้ปลาอ่อนแอ

โรคพยาธิ ที่เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวในระบบทางเดินอาหาร ปลาที่มีพยาธิในระบบทางเดินอาหารจะไม่กินอาหาร ซูบผอม

การ ป้องกัน : ใช้ยาถ่ายพยาธิชนิดเมโทรนิดาโซล (Metronidasole) ขนาด 250 มิลลิกรัม จำนวน 10-15 เม็ด ผสมอาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน 3 วัน


ตลาด

ปัจจุบัน ปลาไหลนา เป็นที่นิยมของคนพื้นบ้าน ในตลาดสดท้องถิ่น จะพบว่ามีแม่ค้านำปลาไหลมาวางขายทั้งในรูปปลาไหลนาที่มีชีวิต (ภาพที่ 6 หรือจัดทำความสะอาดให้ (ภาพที่ 7) พร้อมที่นำไปปรุงอาหาร แล้วแต่รสนิยมและความสะดวกของผู้บริโภค ในราคาระหว่าง 70-100 บาท ต่อกิโลกรัม นอกจากคนท้องถิ่นแล้ว ภัตตาคารและร้านอาหารต่างๆ ก็นิยมซื้อไปปรุงอาหารสำหรับลูกค้าขาประจำ ที่ชอบบริโภคปลาไหล



ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหลนา

1. การรวบรวมพันธุ์ปลาจากธรรมชาติเข้ามาเลี้ยง ควรระมัดระวังในเรื่องการลำเลียง ไม่ควรให้หนาแน่นมากเกินไป ปลาจะบอบช้ำได้

2. ปลาที่เลี้ยงควรเป็นปลาขนาดเดียวกัน เพื่อลดปัญหาการกินกัน โดยเฉพาะปลาอายุต่ำกว่า 2 เดือน

3. อาหารสดที่นำมาเลี้ยงปลา ควรล้างน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วนำมาแช่ด่างทับทิมเข้มข้น 0.05-1.0 เปอร์เซ็นต์ นานประมาณ 10 นาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปเลี้ยงปลา

4. พื้นบ่ออนุบาลควรฉาบผิวให้เรียบ ป้องกันปลาเป็นแผลถลอกได้

5. ปลาไหลเป็นปลาที่ตกใจง่าย ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงควรใส่ฟางข้าวแห้งเพื่อให้ปลาใช้หลบซ่อน และลดความเครียดได้เมื่อมีคนเดินผ่าน หรือทำให้ตกใจ ปลาถ้าตกใจจะไม่กินอาหาร

6. บ่อควรมีร่มเงาบังแสงแดดบ้าง


เอกสารอ้างอิง

สุวรรณ ดี ขวัญเมือง, บุษราคัม หมื่นสา, จีรนันท์ อัจนากิตติ และ สุชาติ รัตนเรืองสี. 2536. การศึกษาเบื้องต้นทางชีววิทยาบางประการ และการทดลองเพาะพันธุ์ปลาไหลนา.เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 54/2536. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ศราวุธ เจะโส๊ะ และ สุวรรณดี ขวัญเมือง. 2536. ปลาไหลนา คุณลักษณะด้านชีววิทยาและธุรกิจการเพาะเลี้ยง. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 1/2536. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุปราณี ชินบุตร, เต็มดวง สมศิริ, พรเลิศ จันทร์รัชชล, สมเกียรติ กาญจนาคาร และ ฐิติพร หลาวประเสริฐ. 2546. เอกสารคำแนะนำ. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

-------------------------------------


วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มารู้จักผักขมกันค่ะ

ผักขม


ผักขมเป็นผักที่มีชื่อพ้อง หมายความว่ามีพืชที่ใช้ชื่อนี้มากกว่า 1 ชนิด มีทั้งผักขมจีน (Chinese Spinach) และผักขมฝรั่ง (Spinach/English Spinach) นอกจากนี้แล้ว ผักขมจีนยังมีญาติพี่น้องหลายชนิดที่ใช้เป็นอาหารตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย เรามาทำความรู้จักกับผักขมทั้งหลายกันดีกว่า
ผักขม (จีน หรือ Chinese Spinach)

ผัก ขมจีน (Chinese Spinach) เป็นชื่อเรียกกันในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อให้แตกต่างจากผักขมฝรั่ง (Spinach/ English Spinach) ชื่อนี้เรียกผักใบเขียววงศ์ Amaranthaceae ในสกุล Amaranthus
พืชกลุ่มนี้บางชนิดขึ้นเองเป็นวัชพืช ทุกชนิดใบกินเป็นอาหารได้ นับเป็นผักใบเขียวที่แพร่หลายทั้งในเขตศูนย์สูตรและเขตอบอุ่นเหนือ
ผักขมเป็นพืชล้มลุกปีเดียวลำต้นตรงมีสีเขียว มีการแตกกิ่งสาขา
ใบเดี่ยวรูปไข่ค่อนไปทางสามเหลี่ยม แตกใบแบบสลับ ขอบใบเรียบ
ดอกผักขมออกเป็นช่อตามซอกใบมีสีม่วงปนเขียว เมล็ดมีจำนวนมากสีน้ำตาลเกือบดำ

ผักขมพันธุ์ต่างๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเขตศูนย์สูตรและอบอุ่นเหนือมีดังนี้

1. ผักขมสวน/ผักขมสี (Red amaranth) หรือ Joseph s coat
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus tricolor L.
ชื่อจีนคือ Een choy ชื่อญี่ปุ่นคือ Santonsai มาเลเซียเรียก Bayam ส่วนชาวซาอีร์ (Zaire) เรียก Lenga lenga
ใบของผักขมสวนมีสีเขียว บริเวณเส้นกลางใบมีสีแดง เมื่อปรุงสุกจะมีสีแดงอมม่วงและมีน้ำสีม่วงไหลออกมา

2. ผักขม (Amaranth green)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus lividus L.
ชื่อจีนคือ Hinn choy
ใน ประเทศไทยแถบภาคกลางเรียกผักขมหรือผักโขม ภาคอีสานเรียกผักหม ภาคใต้เรียกผักโหม ภาคเหนือแถบแม่ฮ่องสอนเรียกผักโหมเกลี้ยง และชาวกะเหรี่ยงเรียกเหม่อลอเดอ

3. ผักขมหัด (Slender amaranth)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus vividis L.
ภาคใต้เรียกผักขมหรือผักหม
ใบของผักขมหัดจะมีขนเล็กน้อย

4. ผักขมหนาม (Spiny amaranth, Spiny pigweed)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus spinosus L.
ภาคใต้เรียกว่าผักโหมหนาม กระเหรี่ยงเรียก กะเหม่อลอมี
ผักขมหนามจะมีหนามที่ช่อดอก
ผัก ขมบางชนิด เช่น Amaranthus leucocarpus มีเมล็ดจำนวนมาก ชาวพื้นเมืองอเมริกาเหนือและละติน อเมริกาเก็บเมล็ดดังกล่าวไปบดเป็นแป้งที่มีโปรตีนสูงใช้ประกอบอาหารได้ดี

คุณค่าทางอาหาร

ผัก ขมหรือ Amaranth green เป็นผักสีเขียวที่หาได้ในเขตศูนย์สูตรและเขตอบอุ่นเหนือทั่วไป มีทั้งที่ปลูกเพื่อนำมากินเป็นอาหารและที่ขึ้นเองเป็นวัชพืช
ผักขมมีโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะ กับผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติ เป็นผักใบเขียวที่มีวิตามินเอ บี 6 ซี ไรโบฟลาวิน โฟเลต และแร่ธาตุ สำคัญได้แก่ แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม สังกะสี ทองแดงและแมงกานีส
ผักขมเป็นผักใบเขียวที่มีปริมาณ สารออกซาเลตค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวมถึงผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณแคลเซียมควรจะต้องหลีกเลี่ยงการกินผักขมใน ปริมาณมาก
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีผักขมจำหน่าย การเลือกซื้อให้เลือกที่มีทั้งต้นและราก
ตาม ชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีผักขมให้เก็บกินได้ทั่วไปตั้งแต่ครั้งย่ายาย เมล็ดเพาะขึ้นง่าย คนกรุงเทพฯ ได้เมล็ดผักขมมาปลูกในถุงดำริมหน้าต่างในห้องพักก็เก็บกินได้
ใบสดของผักขม เก็บมาห่อด้วยกระดาษชื้นบรรจุในถุงพลาสติกมัดปากถุง แล้วใส่ในตู้เย็น ผักขมจะเขียวสด
ผักขมที่ผ่านปรุงด้วยความร้อนแล้ว ควรกินให้หมด ไม่ควรกลับมาอุ่นอีก
ใบ ผักขมลวกน้ำร้อนหรือนึ่ง กินกับน้ำพริกปลาป่น น้ำพริกต่างๆ ผัด ใส่ซุป แกงส้ม แกงอ่อม แกงเลียงหรือแกงจืด คนไทยไม่กินผักขมสดเพราะเหม็นเขียว

ประโยชน์อื่นๆ

สมัย กรีกโบราณ ผักขม หรือ amaranth เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าผักขมมีฤทธิ์ในการเยียวยา และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ มีการใช้ภาพของใบผักขมในการประดับที่อยู่ของพระเจ้าและหลุมศพต่างๆ ดูจากการใช้งานทางการแพทย์ก็พอจะเห็นว่า ผักขมเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ได้

ชาวไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ บอกว่ากินใบผักขมเป็นอาหาร เป็นยาชูกำลัง ทำให้สุขภาพดี

ชาวจีน กินผักขมในฤดูร้อน เชื่อว่าผักขมลดความร้อนและความชื้นในร่างกายใช้รากรักษาอาการหวัด และใช้ขับปัสสาวะ

ชาวอินเดีย มีบันทึกการใช้งานผักขมหัดอย่างละเอียดดังนี้
o รากบำบัดอาการปวดท้องเฉียบพลัน แก้ประจำเดือนที่หยุดกะทันหัน บำบัดการอักเสบของเยื่อเมือกระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์สตรี ให้ใช้น้ำต้มเดือด 1 ลิตร เทลงบนราก 20 กรัม ทิ้งไว้ 15 นาที กรองรากออก ผู้ใหญ่ดื่มน้ำวันละ 4-5 ถ้วย
o ต้นและราก ตำพอกผิวหนัง บรรเทาอาการอักเสบ และรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกo ประสะน้ำนมให้กับหญิงให้นมบุตร ทุบรากต้มน้ำเคี่ยวไฟอ่อนๆ 30 นาที กรองน้ำดื่ม
oใบและรากแก้ท้องผูกในเด็ก ชงเป็นชาให้เด็กดื่มผักขม

ฝรั่ง/ป๋วยเล้ง (Spinach/ English Spinach)

ใครๆ ที่อยู่ในรุ่นอายุราว 40-50 ปี มักจะรู้จักผักขมฝรั่งจากการ์ตูนป็อบอาย แต่ก่อนประเทศไทยไม่มีผักขมฝรั่งขาย รู้ว่าเป็นอาหารเพิ่มพลังให้ป็อบอาย
ใน ปีที่การ์ตูนป็อบอายออกฉายเป็นครั้งแรกนั้น คำว่า Spinach เป็นศัพท์สแลงของกัญชา (marijuana) เลยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วที่ป็อบอายมีพลังมากกว่าคนอื่นนั้นเป็นเพราะพืชชนิดใด
นอกจากนี้ กล่าวกันว่าผักขมฝรั่งเป็นผักใบเขียวที่มีปริมาณวิตามินเอสูงสุด มารู้กันทีหลังว่ารายงาน ดังกล่าวแจ้งทศนิยมผิด 1 ตำแหน่ง ถึงอย่างไรผักขมฝรั่งก็ยังมีวิตามินเอมากอยู่ดี

ผักขมฝรั่ง

ผักขมฝรั่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spinacia olera-ceae L. อยู่ในวงศ์ของบีตรู้ต Chenopodiaceae
ผัก ขมฝรั่งเป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุกสูง 30 เซนติเมตร ใบเดี่ยวแบบสลับรูปไข่หรือฐานสามเหลี่ยม ใบโคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าใบส่วนบนใกล้ช่อดอก ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง-เขียว ขนาด 3-4 มิลลิเมตร
ผลขนาดเล็กอยู่เป็นกลุ่ม ขนาด 5-10 มิลลิเมตร มีเมล็ดหลายเมล็ด
ผัก ขมฝรั่งเป็นผักใบเขียวที่สำคัญ ปัจจุบันปลูกมากที่เขตอบอุ่นเหนือ ให้ผลผลิตดีในภาวะอากาศเย็น ถ้าปลูกในอากาศร้อนจะทำให้ผักขมฝรั่งติดเมล็ดเร็วกว่าปกติ
การเพาะปลูก ผักขมฝรั่งเริ่มจากบริเวณประเทศ ตุรกี การเพาะปลูกแผ่ขยายไปประเทศจีนโดยมีการกล่าวถึงในเอกสารภาษาจีนใน ปี พ.ศ.1190 (ค.ศ.649) ความนิยมผักขมฝรั่งขยายไปในทวีปแอฟริกาเหนือผ่านประเทศซีเรียและแถบประเทศ อาหรับในราวปี พ.ศ. 653(ค.ศ.110)
ผักขมฝรั่งเมล็ดหนามเข้าสู่ทวีปยุโรปศตวรรษที่ 12 นิยมปลูกโดยพระในพื้นที่โบสถ์ ต่อมามีพันธุ์เมล็ดเรียบในราว พ.ศ.2503 (ค.ศ. 1500)
ประเทศไทยมีผักขมปลูกในโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ฯ (เครื่องหมายการค้า ธรรมชาติ) และบริษัทเอกชนอื่นๆ



ผักขมฝรั่งแบ่งได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้

1.ซาวอย (Savoy) ใบมีสีเขียวเข้ม ย่นและม้วนงอ ในสหรัฐอเมริกาเป็นพันธุ์ที่หาซื้อได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เก็ต

2. ผักขมฝรั่งใบเรียบ (Flat/Smoot leaf spinach) มีใบเรียบล้างง่าย พันธุ์นี้มักปลูกเพื่อบรรจุ กระป๋องและแช่แข็ง และใช้ในการผลิตอาหารเด็กอ่อน ซุปสำเร็จ และอาหารปรุงสำเร็จอื่นๆ

3. เซมิ-ซาวอย (Semi-savoy) เป็นพันธุ์ผสม ใบย่นเล็กน้อยแต่ล้างง่ายกว่าพันธุ์ซาวอย ปลูกเพื่อกินสดและส่งตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร

ผักขมฝรั่งที่จำหน่ายในประเทศไทยดูจะเป็นสายพันธุ์นี้
ผัก ขมฝรั่งมีคุณค่าทางอาหารมากที่สุด เมื่อคิดจะซื้อผักขมสดมากิน ควรเลือกใบที่มีรากติดมาด้วย ตัดรากออกก่อนแล้วล้างเอาทรายออกสัก 2-3 น้ำ ตัดก้านใบแข็งๆ ออก ถ้ากินสดให้สลัดน้ำออก
ผักขมเมื่อปรุงเป็นอาหารโดย ใช้ความร้อน มักจะยุบตัวลงเหลือปริมาตรประมาณ 1ใน 3 ถ้านำผักขมฝรั่งใช้เลี้ยงเด็ก เมื่อผักขมฝรั่งผ่านความร้อนแล้วไม่ควรนำมาอุ่นให้เด็กกินอีก

ข้อควรระวังคือ
ผัก ขมฝรั่งมีสารออกซาเลต สามารถสะสมในร่างกาย และรบกวนการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายได้ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับนิ่วและผู้ที่พยายามสะสมแคลเซียมในร่างกายจึงควร เลี่ยงการกินผักขมฝรั่งนี้ในปริมาณมาก

ฟลาโวนอยด์ในผักขมฝรั่งต้านมะเร็ง

นักวิจัยพบสารฟลาโวนอยด์อย่างน้อย 13 ชนิดในกลุ่ม methylenedioxyflavonol glucuronides ที่มีคุณสมบัติต้านออกซิเดชั่นและต้านมะเร็ง
สารสกัด ผักขมฝรั่งชะลอการแบ่งตัวของเซลล์ มะเร็งกระเพาะอาหารในหลอดทดลอง การทดลองในหนูพบว่าสารสกัดผักขมฝรั่งลดการเกิดมะเร็งผิวหนัง (skin papiloma) การวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาในราวปี พ.ศ.2530 พบว่าสตรีที่กินผักขมฝรั่งมีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่กิน ผักขมฝรั่ง

คาโรทีนอยด์ในผักขมฝรั่งบำรุงสายตาและต้านมะเร็งอัณฑะ

ลูทิน (lutein) เป็นสารกลุ่มคาโรทีนอยด์ที่มีออกซิเจนอยู่ภายใน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบได้ในผักขมฝรั่งและผักใบเขียวอื่นๆ
ลู ทินสามารถกรองแสงสีน้ำเงินที่มีพลังงานสูง ซึ่งเป็นเหตุก่อให้เกิดความเครียดเชิงอนุมูลอิสระในเนื้อเยื่อของอวัยวะที่ รับแสง เช่น ดวงตาและผิวหนัง ในจอประสาทตาส่วนกลางมีรงควัตถุสีเหลือง มีสารลูทินและซีอาแซนทีน (zeaxanthine) อยู่ในปริมาณมาก พบว่าลูทินลดอัตราการเสื่อมของจอประสาทตา (macular degeneration) อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอดในผู้สูงอายุได้ การที่ร่างกายดูดซึมลูทินจำเป็นต้องอาศัยไขมันเป็นตัวทำละลาย ดังนั้น ผักขมฝรั่งผัดกับเนย เหยาะกระเทียมเล็กน้อยจะให้ประโยชน์เต็มที่
ผักขม ฝรั่งมีคาโรทีนอยด์เรียกนีโอแซนทิน (neoxanthin) ปี พ.ศ.2547 วารสารโภชนาการรายงานว่า สารนีโอแซนทินกระตุ้นเซลล์มะเร็งอัณฑะให้ทำลายตัวเอง และถูกระบบลำไส้เปลี่ยนเป็นสารใหม่ที่มีคุณสมบัติหยุดการแบ่งตัวของเซลล์ มะเร็งอัณฑะได้

ผักขมฝรั่ง: อาหารสมองและป้องกันความเสียหายจากการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง

นัก วิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดาพบว่า เมื่อให้ผักขมฝรั่งกับหนูทดลองอายุมากทำให้หนูดังกล่าวมีความสามารถในการ เรียนรู้ดีขึ้นและทำให้มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น นักวิจัยจึงคิดว่าผักขมฝรั่งช่วยปกป้องเซลล์สมองจากความเครียดออกซิเดชั่น และ ชะลอการสูญเสียสมรรถภาพสมองที่สัมพันธ์กับอายุได้
วารสารการทดลอง ประสาทวิทยา ปี พ.ศ.2548 รายงานว่า หนูทดลองที่ได้ผักขมฝรั่งร้อยละ 2 ในอาหารเป็นเวลา 4 สัปดาห์ เมื่อกระตุ้นให้สมองขาดออกซิเจน (ischemic stroke with reperfusion) พบว่าบริเวณที่สมองถูกทำลายมีขนาดเล็กกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารธรรมดาครึ่ง หนึ่ง หนูเหล่านี้เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวได้หลังการทดลองดีกว่ากลุ่มควบ คุม
ผักขมฝรั่งมีสารต้านออกซิเดชั่นมาก นักวิจัยเชื่อว่าสารเหล่านี้ไปต้านอนุมูลอิสระที่ถูกปลดปล่อยโดยเซลล์สมอง หลังจากขาดออกซิเจน ลดความเสียหายของไลปิด โปรตีน และสารพันธุกรรมในเซลล์สมองอันเป็นเหตุให้สัตว์ทดลองถึงแก่ความตายได้

เพิ่มเหล็กไม่เพิ่มแคลอรี

สตรี วัยเจริญพันธุ์ต้องการธาตุเหล็กเพื่อสร้าง เม็ดเลือดแดงอยู่เสมอ เด็กและวัยรุ่นก็ต้องการธาตุนี้เช่นกัน การกินผักขมฝรั่งได้ธาตุเหล็กสูงแต่แคลอรีต่ำเมื่อเทียบกับการกินเนื้อสัตว์ แดง
หนังสือไดอารี่ครัวสระปทุม พระนิพนธ์สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีเมนูผักขมที่หลอกให้เด็กกินผักได้ คุณแม่บ้านอาจลองเพิ่มสลัดผักขมฝรั่งใส่มะเขือเทศและน้ำมันมะกอกเป็นเมนู สุขภาพทางเพศให้คุณพ่อและเพิ่มเหล็กให้ตนเองสักหน่อย

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำอาหารกินเองนะคะ