แนะนำให้อ่าน

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ต้นวิลสัน

ต้นวิลสัน


ต้นวิลสัน หรือเศรษฐีวิลสัน เป็นไม้ประดับอยู่ในตระกูลสาวน้อยประแป้ง แต่มีลำต้นและใบใหญ่กว่าเพื่อนร่วมสกุลมาก

เป็นต้นไม้พื้นเพจากต่างประเทศ รดน้ำวันละครั้ง หรือ 2-3 วันครั้งก็ได้ ชอบอยู่ในร่มหรือกึ่งร่มกึ่งแดด หรือรำไร ไม่ต้องดูแลมาก ใบไหนเหี่ยวตัดออกได้ มันจะงอกใบใหม่ แต่ถ้าต้องการให้ต้นใหญ่ก็ลงกระถางใหญ่ๆ หรือลงดิน แต่จะดูแลยากเพราะต้นจะใหญ่มาก

การขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธี อาทิ หั่นลำต้นเป็นแว่นๆ เป็นท่อนๆ ไปฝังในทรายหรือขุยมะพร้าว ต้นใหม่จะเกิดจากตาข้าง เมื่อต้นโตและออกรากดีแล้วค่อยตัดออกเป็นต้นๆ นำมาปลูกลงดินหรือกระถาง

การตัดลำต้นส่วนยอดปักชำ ตัดยอดให้มีความยาวพอสมควรไม่สั้นหรือยาวเกินไปและตัดให้รอยตัดชิดกับข้อต้นมากที่สุด ทาปูนแดงที่รอยตัดทั้งสอง ลอกใบของยอดชำออกให้เหลือแต่ใบส่วนยอดประมาณ 4-5 ใบนำไปปักชำในขุยมะพร้าว ผสมขี้เถ้าแกลบหรือขุยมะพร้าวผสมทรายหยาบ วางไว้ในที่ร่ม รดน้ำและรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอ ประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะเกิดราก จึงย้ายปลูกลงดินได้ต่อไป

การชำข้อและลำต้น เป็นวิธีที่ง่ายและทำให้ได้ต้นใหม่จำนวนมาก ทำได้โดยตัดส่วนของข้อหรือลำต้นเป็นท่อนๆ ยาว 5-7 เซนติเมตร โดยให้มีส่วนของตาติดมาด้วยทุกท่อน แช่ด้วยน้ำผสมยากันเชื้อราหรือทาด้วยปูนแดงทิ้งไว้ให้แห้ง นำไปชำในขี้เถ้าแกลบผสมขุยมะพร้าวในอัตราส่วนเท่าๆ กัน โดยฝังให้จมลงประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของลำต้นตามแนวนอนและวางให้ตาที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ด้านบน ประมาณ 45-60 วันรากจะงอก เมื่อใบขึ้นมา 2-3 ใบจึงย้ายปลูกได้

การตอน ลอกใบด้านล่างของยอดให้เหลือยอดพอสวย ใช้มีดที่คมและสะอาดกรีดเป็นรอยตามความยาวของต้นลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร บริเวณข้อต้นที่จะตอน 4-6 รอย หุ้มด้วยถุงพลาสติกมัดให้แน่น ประมาณ 3-4 สัปดาห์รากจะงอก จึงตัดนำไปปลูกต่อไป

การแยกหน่อ ตัดหน่อใหม่ที่มีใบ 2-3 ใบและที่โคนหน่อมีรากแล้ว ทารอยตัดด้วยปูนแดงรอให้แห้งก็ไปปลูกได้ทันที


วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาดุกไฟฟ้ายักษ์

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์” เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ปัจจุบันในธรรมชาติจะพบเฉพาะในแม่น้ำคองโกเท่านั้น ไม่พบในประเทศไทย จัดเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งหรือน้ำไหลเอื่อย ๆ ชอบอาศัยตามโพรงหิน โพรงไม้และตามรากไม้จมน้ำที่มีแสงผ่านได้น้อยหรือเป็นน้ำหมักที่มีการสะสม ของสารอินทรีย์ เช่น ใบไม้ทับถมกันและมีอุณหภูมิของน้ำเฉลี่ย 23-28 องศาเซลเซียส ลักษณะรูปร่างของปลาดุกไฟฟ้ายักษ์จะมีรูปร่างกลมและยาวคล้ายไส้กรอก ไม่มีครีบหลังแต่จะมีครีบไขมันขนาดใหญ่ ที่อยู่ค่อนไปทางส่วนท้ายของลำตัวติดกับครีบหาง

คุณชวิน ตันพิทยคุปต์ หนึ่งในผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาแปลกและสวยงาม ทั้งในและต่างประเทศได้ย้ำว่าปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ไม่พบในแหล่งน้ำในประเทศไทย ใครที่ซื้อมาเลี้ยงเป็นปลาแปลกและปลาสวยงามแล้วเบื่อ ห้ามปล่อยลงสู่แหล่งน้ำไทยอย่างเด็ดขาด ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้จะมีอวัยวะที่สร้างไฟฟ้าเรียงตัวอยู่บริเวณด้านข้าง ของลำตัว สามารถสร้างกระแสไฟฟ้า ที่รุนแรงได้ถึง 350 โวลต์ โดยกระแสไฟฟ้าดังกล่าวใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวและฆ่าเหยื่อที่จะจับกิน บริเวณลำตัวมีสีเทา มีจุดประสีดำขนาดใหญ่และเล็กกระจายอยู่ทั่วลำตัว จัดเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายจึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น แม้แต่เลี้ยงรวมด้วยกันจะพบปัญหากัดกันเอง

อาหารหลักของปลาดุกไฟฟ้ายักษ์คือปลาเล็ก ๆ ทุกชนิด แต่จัดเป็นปลาที่เคลื่อน ที่ช้า ไม่ว่องไว ดวงตามีขนาดเล็กและใช้การได้ไม่ดีนัก วิธีการล่าเหยื่อจะใช้กระแสไฟฟ้าช็อตให้ปลาหมดสติหรือตายทันทีแล้ว ค่อยกลืนกินเป็นอาหาร คุณชวินยังบอกว่าหลายคนจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ กับปลาดุกไฟฟ้า กับปลาดุกธรรมดา

ข้อแตกต่างที่สำคัญประการแรกก็คือขนาดและการเจริญเติบโต ปลาดุกไฟฟ้าธรรมดาที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติจะเจริญเติบโตได้เต็มที่มีความยาว ของลำตัวได้ถึง 1 เมตร เรียกได้ว่าตัวใหญ่ที่สุดในบรรดาปลาดุกไฟฟ้าทุกชนิด แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้เป็นปลาสวยงาม จะเจริญเติบโตช้ามากจากประสบการณ์ของคุณชวินเคยพบมาโตเต็มที่ไม่เกิน 12 นิ้ว ในขณะที่ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้พบว่าเจริญเติบโตเร็วมากขณะ นี้มีคนเลี้ยงได้ขนาดลำตัวถึง 50-60 เซนติเมตรก็มี สำหรับข้อแตกต่างปลีกย่อยอื่น ๆ ก็คือรูปร่างลักษณะอื่น ๆ อาทิ ส่วนหัวของปลาดุกไฟฟ้าธรรมดาจะสั้นกลม จะงอยปากสั้นทู่ แต่ส่วนหัวของปลาดุกไฟฟ้ายักษ์จะลาดยาวเรียวแหลมกว่าชัดเจน จะงอยปากยาวช่องเปิดของปากมีขนาดเล็กกว่าส่วนของลำตัวปลาดุกไฟฟ้าธรรมดาจะมี ลำตัวสีน้ำตาลอมชมพู ในขณะที่ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์มีสีเทา

ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์จัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายชนิดหนึ่ง ระมัดระวังเรื่องอาการผิดน้ำ หลังจากที่ย้ายปลามาลงใหม่ ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปลาชนิดนี้ชอบน้ำเก่าหรือน้ำหมัก.

 เครดิต : ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก

 กบอ๊บๆๆ... เป็นอาหารพื้นบ้านของไทยเรามาช้านาน และปัจจุบันความต้องการ

ในการบริโภคกบที่มีมากขึ้น ทำให้หลายหน่วยงาน ได้ร่วมกันปรับปรุงวิธีการเลี้ยงกบ
ซึ่งการเลี้ยงกบคอนโด ฯ ร่วมกับ ปลาดุก ก็เป็นอีก 1 วิธี ที่ได้ประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม
ในการเลี้ยงครับ 

เลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก ของศูนย์การเรียนรู้ฯ ภาคเหนือ
เมื่อเร็วๆ นี้ ทางสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ที่ คุณยลวิไล ประสมสุข เป็นผู้อำนวยการสำนักฯ นั้น ได้จัดการฝึกอบรมครูผู้รับผิดชอบโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนของภาคเหนือ จำนวน 85 คน และพร้อมกันนี้ได้ไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตาม แนวพระราชดำริฯ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มทักษะด้านการเกษตร มีจุดเรียนรู้ที่น่าสนใจและเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ แบบพอเพียงพึ่งพาตนเอง ได้แก่ การเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก

การเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก

“เมื่อก่อนนี้ การเลี้ยงกบมักมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ลงทุนสูง และกบมักกัดกินกันเอง แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นหาวิธีการเลี้ยงกบให้คุ้มค่าและเหมาะสม โดยหาวัสดุในท้องถิ่นที่ใช้แล้วนำมาดัดแปลง และยางรถยนต์เก่าที่ใช้แล้ว ก็เป็นวัสดุที่นำมาใช้ในการเลี้ยงกบ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยนำมาวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายกับอาคารคอนโดมิเนียมที่ใช้พื้นที่น้อย แต่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์มาก” จึงเป็นที่มาของการเลี้ยงกบคอนโดฯ จากการบอกกล่าวของ ร.ต.ประกอบ สีขาว วิทยากรฐานการเรียนรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอ เพียงภาคเหนือ

วิธีการสร้างคอนโดฯ เลี้ยงกบร่วมกับปลาดุก

การคัดเลือกพื้นที่สำหรับสร้างคอนโดฯ ควรอยู่ใกล้บ่อปลาดุก เพื่อสะดวกในการวางท่อระบายอาหารและน้ำจากคอนโดฯ สู่บ่อปลาดุก สำหรับวิธีการสร้างคอนโดฯ มีขั้นตอน ดังนี้ 
1. วางระบบท่อระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำทิ้งจากคอนโดฯ สู่บ่อปลาดุก
2. นำยางรถยนต์มาวางทับกึ่งกลางท่อระบายน้ำ แล้วใช้ปูนซีเมนต์ยาแนวให้เป็นรูปก้นกระทะด้านล่างสุด เพื่อสะดวกในการให้อาหาร และระบายน้ำ (ถ้าเลือกได้ควรเป็นยางรถปิคอัพ 4 WD เพราะมีขนาดใหญ่ สามารถเลี้ยงกบได้จำนวนมาก) 
3. ทิ้งปูนให้แห้ง แล้วเทน้ำใส่ให้ท่วมปูน ตัดต้นกล้วยเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาใส่เพื่อเจือจางความเป็นกรดและความเค็มของปูน จากนั้นระบายน้ำทิ้ง แล้วล้างออกด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์
4. ทำหลังคาซาแรนบังแดด เพื่อไม่ให้ยางถูกแสงแดดมากจนเกินไป ซึ่งจะทำความเสียหายกับกบได้
5. นำยางมาวางซ้อนกัน 3 ชั้น
6. ปล่อยกบอายุ 1-2 เดือน ลงเลี้ยงในคอนโดฯ คอนโดฯ ละ 150 ตัว 
7. ใช้ฝาพัดลมเก่าปิดปากด้านบนคอนโดฯ เพื่อป้องกันกบกระโดดออก

วิธีการเลี้ยงกบคอนโดฯ

เมื่อปล่อยกบอายุ 1-2 เดือน ลงเลี้ยงในคอนโดฯ คอนโดฯ ละ 150 ตัว ระยะเดือนแรกให้อาหารปลาดุกเล็ก เดือนที่สองให้อาหารปลาดุกรุ่น และเดือนที่สามไปแล้วให้อาหารปลาดุกใหญ่ การให้อาหารจะต้องปิดรูระบายน้ำ เติมน้ำให้เต็มกระทะ โรยอาหารลงไปให้ลอยน้ำ กบจะลงมากินอาหารจนอิ่ม แล้วก็จะกลับเข้าไปหลบอาศัยอยู่ในวงยางตามเดิม ควรใส่น้ำในขอบวงยางเพื่อให้ความเย็นแก่กบและถ่ายน้ำทุกวัน เช้าและเย็นก่อนให้อาหาร โดยใช้ขวดน้ำกลั่นที่ใช้แล้ว ตัดเป็นกรวยตักน้ำออกจากวงยาง แล้วระบายน้ำลงสู่บ่อปลาดุก ซึ่งปลาดุกจะได้อาหารเหลือเหล่านั้น สำหรับการใช้ขวดน้ำกลั่นตัดเป็นกรวยตักน้ำเพราะมีความอ่อนสามารถตักน้ำจากวง ยางได้หมด แม้จะตักถูกตัวกบก็ไม่ระคาย การเลี้ยงกบคอนโดฯ นี้ ไม่แนะนำให้ใช้ไฟล่อแมลงให้กบกินกลางคืน เพราะกบไม่ได้พักผ่อน จะจ้องแต่กินแมลง และข้อสำคัญคือ เราไม่รู้ว่าแมลงบางชนิดมีพิษอยู่ในตัว หรือแมลงที่ถูกยากำจัดศัตรูพืชและไม่ตายในทันที เมื่อมาเล่นไฟและตกลงไปให้กบกิน กบกินพิษยากำจัดแมลงเข้าไปด้วยก็จะทำให้กบตายในที่สุด แต่ถ้าจะให้อาหารเสริม ควรจะเป็นหนอนหรือไส้เดือนที่เราสามารถเพาะเลี้ยงเองได้
การเลี้ยงกบคอนโดฯ ควรมีการคัดขนาดทุกๆ สัปดาห์ เพราะกบมีการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ถ้าไม่คัดขนาด จะเกิดปัญหากบกัดกินกันเอง และเมื่อเลี้ยงกบได้ 1 เดือน ควรคัดให้เหลือประมาณ 100 ตัว ต่อคอนโดฯ เพื่อไม่ให้แออัดเกินไป เลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้ คิดเป็นเงิน 1,750 บาท ต่อคอนโดฯ 
(กบ 100 ตัว ต่อคอนโดฯ เฉลี่ยได้น้ำหนัก 25 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 70 บาท : 3-5 ตัว ต่อกิโลกรัม) 
สำหรับการเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก อัตราการเลี้ยงระหว่างกบกับปลาดุก คือ กบ 100 ตัว หรือ กบ 1 คอนโดฯ จะปล่อยปลาดุก 20 ตัว โดยไม่ต้องให้อาหารปลาดุก ปลาดุกจะกินเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงกบคอนโดฯ ก็พอเพียงต่อการเจริญเติบโตแล้ว หรือถ้าต้องการให้ปลาดุกโตเร็วขึ้น ก็ให้อาหารเสริมบ้างก็ได้ การจำหน่ายปลาดุก 20 ตัว ประมาณ 5 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 40 บาท ก็จะได้ 200 บาท ดังนั้น ถ้ารวมกับการจำหน่ายกบทั้งหมด จะได้ 1,950 บาท ในพื้นที่ประมาณ 10 ตารางเมตร

ข้อดีของการเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก

1. เป็นการใช้อาหารอย่างคุ้มค่า ไม่สูญเปล่า เพราะเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงกบ จะเป็นอาหารของปลาดุกอีกต่อหนึ่ง
2. ประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างบ่อเลี้ยงกบ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์จากสิ่งเหลือใช้ ได้แก่ ยางรถยนต์เก่า ฝาพัดลมเก่า เป็นต้น
3. การดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ลดปัญหาการเกิดโรค
4. ประหยัดน้ำในการล้างทำความสะอาดบ่อ
5. กบโตเร็ว น้ำหนักดี
6. ลดปัญหาเรื่องการกัดกินกันเอง ทำให้อัตราการรอดสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์

การเลี้ยงกบคอนโดฯ ร่วมกับปลาดุก เกษตรกร/ผู้ว่างงานสามารถทำได้ ให้ผลเร็ว พออยู่พอกิน พึ่งตนเองได้ เหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันนี้
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 299-758

เครดิต : หนังสือเทคโนโลยี ชาวบ้าน

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปลาแรด ยักษ์ใหญ่ในตู้กระจก (เทคโนโลยีชาวบ้าน)

 สำหรับนักเลงปลาใหญ่ที่ชอบสะสม เฉพาะปลายักษ์ขนาดบิ๊กไซส์เท่านั้นคงต้องรู้จัก ปลาแรด เป็นอย่างดี ปลาแรดเป็นปลาน้ำจืดที่จัดได้ว่ามีขนาดล่ำสันใหญ่โต โดยที่ในธรรมชาติมันอาจมีความยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร ส่วนในตู้กระจก (ที่มีขนาดที่ไม่เล็กจนเกินไปนัก) ก็ยังสามารถโตได้ถึง 50 เซนติเมตร น้ำหนักตัวนั้นว่ากันเกือบ 10 กิโลกรัม ทีเดียวครับ

          ปลาแรด อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระดี่ เรียกได้ว่าเป็นปลากระดี่ชนิดที่ใหญ่ที่สุด ในวงศ์ของมัน โดยลักษณะเด่นของปลาวงศ์นี้คือมี 2 ประการ คือ 

          1. มีอวัยวะช่วยหายใจ (labyrinth organ) ซึ่งทำให้มันสามารถขึ้นมาฮุบอากาศเหนือผิวน้ำเอาออกซิเจนเข้าไปได้โดยตรง 

          2. มีครีบท้อง (pelvic fin) ที่พัฒนาเป็นเส้นยาวคล้ายหนวดกุ้งเพื่อใช้ในการคลำหาอาหารบริเวณพื้นน้ำ

          ในปลาแรดวัยเด็ก ปลาแรดจะมีรูปร่างบางคล้ายใบไม้ มีลายขวางจางๆ บนพื้นลำตัวสีน้ำตาลเทา ส่วนหัวเรียวเล็กมีจะงอยปากแหลม ตาโต โคนหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน พอเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะงอยปากจะสั้นลง ริมฝีปากเริ่มหนาขึ้นเช่นเดียวกับลำตัวที่แผ่กว้าง เมื่อปลาโตเต็มวัยจะมีริมฝีปากหนามาก ขากรรไกรล่างยื่นออกมากกว่าขากรรไกรบน มีโหนกหรือสันปูดขึ้นมาบริเวณหน้าผากคล้ายกับมะม่วงพันธุ์แรด จึงเป็นที่มาของชื่อปลาแรดนั่นเอง ส่วนจุดดำบริเวณโคนหางจะหายไป ปลาตัวผู้มีสันบนหัวใหญ่มากกว่าตัวเมีย ปลายครีบยาวกว่า สีสดเข้มกว่าและลำตัวเพรียวกว่า

          ปลาแรดเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย เดิมทีจะมีการเพาะเลี้ยงไว้เพื่อนำมาเป็นอาหาร แต่ต่อมาเนื่องจากมันเป็นปลานิสัยเชื่องคน เลี้ยงง่าย และกินได้ทุกอย่าง ทั้งราคาก็ถูกมาก จึงเริ่มนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และในเวลาต่อมาเราก็ได้รู้เพิ่มเติมอีกว่า ปลาแรด ไม่ได้มีอยู่เพียงสายพันธุ์เดียว มันยังมีความหลากหลายทั้งรูปร่างและสีสัน มีทั้งปลาแรดเผือกที่สีเนื้อเป็นสีขาวอมชมพู มีทั้งปลาแรดแดงจากอินโดนีเซียที่มีครีบสีแดงสดเร่าร้อน และมีกระทั่งปลาแรดที่มีเขี้ยวเต็มปาก อาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำโขง วงการปลาสวยงามจึงต้องเริ่มเอาปลาแรดมาประเมินคุณค่ากันใหม่ เพราะบางสายพันธุ์นั้นราคาสูงมากทีเดียว เช่น ปลาแรดแดงอินโด

การเลี้ยงปลาแรดในตู้กระจก

          เนื่องจากปลาแรดมีความอดทนสูง จึงจัดเป็นปลาที่เลี้ยงยังไงก็ตายยาก ยกเว้นปลาวัยเด็ก ซึ่งเป็นช่วงเปราะบาง หากเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ ที่ก้าวร้าวกว่าก็อาจทนแรงเสียดทานไม่ไหว ค่อยๆ ป่วยตายไปก็มี การเลี้ยงปลาแรดให้ง่ายที่สุดคือ เลี้ยงตามลำพังตัวเดียว ในตู้ขนาดเหมาะสม คือถ้าปลายังเล็กก็สามารถเลี้ยงในตู้ ขนาด 20-24 นิ้ว ได้ แต่ถ้าปลาใหญ่กว่า 6 นิ้ว ก็จำเป็นต้องย้ายไปอยู่ในตู้ที่กว้างขวางกว่า ปลาแรดโตเร็วมากหากได้รับการดูแลดี ตู้ที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาแรดโตเต็มวัยคือ ตู้ขนาด 60x24x24 นิ้ว ขึ้นไป

          แต่สำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาแรดรวมกันหลายตัวก็จำเป็นต้องหาตู้ใหญ่ๆ เลยตั้งแต่แรก และจะต้องเลี้ยงมันอย่างน้อย 6-7 ตัว ขึ้นไป เนื่องจากปลาแรดเองก็เป็นปลามีความก้าวร้าวดุร้ายอยู่ในตัวไม่น้อย การเลี้ยงรวมในที่แคบ ปลาแรดตัวที่ใหญ่กว่าแข็งแรงกว่าจะจู่โจมปลาที่เล็กกว่า อย่างเอาเป็นเอาตาย แค่เวลาไม่กี่ชั่วโมงปลาตัวที่โดนกัดจะหมดสภาพและตายในเวลาต่อมา ส่วนการเลี้ยงรวมกับปลาอื่นอาจทำได้ง่ายกว่า เพราะปลาแรดนั้นหากไม่ใช่ ปลาที่มีหน้าตาแบบเดียวกับมันก็ดูเหมือนจะให้ความสนใจน้อย ลง แต่จำเป็นต้องเลือกปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และมีความว่องไวแข็งแรงให้มากเข้าไว้ เช่น ปลาหมอสี จากอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ปลาในวงศ์คาราซินิเดขนาดกลาง เป็นต้น

          เป็นที่น่าแปลกว่า ปลาแรดที่โตเต็มที่จะลดความก้าวร้าวดุร้ายลงไปอย่างเห็นได้ชัด บางตู้สามารถเลี้ยงปลาแรดเพียงสองตัวได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่ปลาตัวหนึ่งใหญ่บึกบึนกว่ากันมาก

          ตู้ที่เลี้ยงปลาแรดต้องจัดให้มีพื้นที่ว่างโล่งมากๆ ให้ปลาว่ายน้ำ สามารถตกแต่งด้วยหินหรือขอนไม้ได้ แต่อย่าให้รกเกินไปนัก หินต้องไม่มีสันหรือชะง่อนคม เช่นเดียวกับขอนไม้ที่ต้องไม่เป็นกิ่งก้านเกะกะ ที่สำคัญหลีกเลี่ยงการเลี้ยงพืชน้ำในตู้ เพราะปลาแรดกินได้ทุกอย่าง โดยเฉพาะพืชผัก อาจใช้เป็นต้นไม้ปลอมแทนหากต้องการสีสัน

          ระบบกรองน้ำต้องดี เนื่องจากปลาแรดเป็นปลาที่กินจุ กินทุกอย่างที่ขวางหน้า ถ้ากินไม่อิ่มมักออกอาการโกรธ พุ่งชนตู้แยกเขี้ยวขู่เราไปเรื่อยจนกว่าจะยอมให้อาหารมันเพิ่ม ฉะนั้น น้ำจึงลดคุณภาพลงอย่างรวดเร็วหากใช้แค่กรองพื้นฐานอย่างกรองใต้กรวดหรือ กรองกระป๋อง ตู้ขนาดใหญ่มีระบบกรองชีวภาพข้างตู้ก็สามารถรับมือได้สบายๆ แต่ตู้ขนาดเล็กก็อาศัยเปลี่ยนถ่ายน้ำให้บ่อยขึ้น โดย 1 สัปดาห์ ควรถ่ายออกราว 25-30 เปอร์เซ็นต์

          ปลาแรดกินได้ทุกอย่าง ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ในปลาวัยเด็กออกจะชอบไปในทางเนื้อสัตว์ ประเภทไส้เดือน หนอนแดง ไรทะเล หรือกุ้งฝอย พอเริ่มโตขึ้นมาก็จะหันมากินอาหารประเภทพืชหนักขึ้น เราสามารถใช้อาหารเม็ดที่มีส่วนผสมของผักต่างๆ หรือสาหร่ายสไปรูไลน่าให้เป็นอาหารหลักได้โดยเสริมอาหารสดอย่างกุ้งฝอยหรือ เนื้อสัตว์อื่นบ้าง เช่นเดียวกับผักที่มีเส้นใย เช่น ผักกะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผลไม้บางอย่างปลาแรดก็ชอบกินเช่นกัน เช่น แอปเปิล หรือมะเขือเทศ ผู้เพาะเลี้ยงบางคนตักแหนตามลำคลองมาล้างให้สะอาด ให้ปลาแรดกินเป็นอาหารเสริม ซึ่งดูเหมือนมันก็ชอบไม่น้อย

สายพันธุ์ปลาแรด

          ในปัจจุบันมีปลาแรดสายพันธุ์ต่างๆ ให้เลือกซื้อไปเลี้ยง ทุกพันธุ์มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันหมด แต่ผิดแผกแตกต่างกันไปตามรายละเอียดอื่นๆ เช่น สีสัน และอวัยวะพิเศษบางอย่าง ดังนี้ครับ



 1. ปลาแรดธรรมดา หรือแรดดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Osphronemus goramy

          ก็คือ ปลาแรดธรรมดา หรือที่เรียกกันว่า "แรดดำ" นั่นเอง จัดเป็นแรดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง มีสีไม่สวยนัก แต่ก็เด่นที่ราคาถูก (และเนื้ออร่อย)



          2. ปลาแรดเผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ Osphronemus goramy Albino, Silvery

          จัดออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือแรดเผือกตาดำ และแรดเผือกตาแดง ปลาแรดเผือกตาดำนั้นมีสีขาวนวลอมชมพู ไม่มีลายบนลำตัว ลักษณะค่อนข้างเพรียวยาวกว่าแรดเผือกตาแดง ซึ่งเป็นการผ่าเหล่ามาจากปลาแรดดำ โดยยังจะมีลายบนลำตัวให้เห็นจางๆ และมีลำตัวกว้างป้อมกว่า สีสันออกขาวสว่างกว่าอย่างเห็นได้ชัด



  3. ปลาแรดเขี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ Osphronemus exodon

          เป็นปลาแรดที่มีถิ่นอาศัยในแม่น้ำโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลาแรดดำทั่วไป แต่มีฟันรูปเขี้ยวที่ริมฝีปากนอก ในขณะที่ปลาแรดชนิดอื่นก็มีฟันในแบบเดียวกัน แต่อาจเล็กกว่าและอยู่เข้าไปด้านในของริมฝีปาก ทำให้มองเห็นไม่ชัดเท่า ปลาแรดเขี้ยวจัดเป็นปลาแรดหายาก ฉะนั้น จึงมีราคาสูงกว่าปลาแรดดำหรือปลาแรดเผือก ทั้งที่ตัวมันเองก็ไม่ได้สวยมากไปกว่า
4. ปลาแรดแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Osphronemus laticlavius

          ปลาแรดแดง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นปลาแรดที่มีสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในปลาตัวผู้ที่โตเต็มวัย สีพื้นลำตัวด้านบนจะเข้มดำ ในขณะที่ทางด้านล่างจะสีอ่อนกว่า ครีบทุกครีบมีสีส้มแดง เช่นเดียวกับข้างแก้มและส่วนหัว บางตัวออกสีแดงจัด ขึ้นอยู่กับสภาพและวิธีการเลี้ยง ปลาแรดแดงเป็นปลาแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาปลาแรดด้วยกัน โตเต็มที่เพียง 50 เซนติเมตร เท่านั้น จัดเป็นปลาแรดที่มีราคาแพงที่สุด


 เครดิต : http://pet.kapook.com/view1538.html

 
โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์
คอลัมน์ ปลาสวยงาม

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีแก้ปัญหาควายท้องอืด

ปัจจุบันนี้คนเลี้ยงควายน้อยลง การเลี้ยงควายถ้าจะว่ายากก็ยาก แต่ถ้าจะว่าง่ายก็ง่าย เพียงแค่เราต้องมีความอดทนและมีเวลาให้กับพวกมัน ปัญหาเรื่องโรคก็มีบางแต่ก็ไม่มาก หญ้าที่ให้ควายกินก็มีอยู่ในชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งการเลี้ยงควายก็มีเทคนิคและวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ลุงแดงได้บอกวิธีการรักษาโรคท้องอืดในควายซึ่งจะเกิดขึ้นบ่อยๆ มาแนะนำ

โรคท้องอืดในควาย
การสังเกตลักษณะควายที่เกิดโรค :

1.เซื่องซึม
2.หางจะไม่ค่อยสะบัดไล่แมลง(หางแข็ง)
3.ไม่ค่อยกินหญ้าและน้ำ
4.จะเดินช้ากว่าตัวที่ปกติ
5.ถ้าเราเอามือไปตบที่ท้องจะมีเสียงดังผิดปกติ
การรักษา(ด้วยสมุนไพร) โดยมีส่วนผสมดังนี้
1.ใบกระท้อนแบบกลางอ่อนกลางแก่ (เพสลาด) 2 ส่วน
2.เกลือแกง 1 ส่วน
3.น้ำสะอาด 1 ส่วน

วิธีการรักษา:
1.นำใบกระท้อนที่เก็บมาได้ตำให้ละเอียด
2.เมื่อตำใบกระท้อนแล้วก็ให้นำเกลือแกงลงไปผสมแล้วตำให้ละเอียดอีกครั้ง
3.นำมาผสมกับน้ำสะอาดที่เตรียมไว้แล้วคนให้เข้ากัน
4.แช่ไว้ประมาณ1 ชั่วโมง
5.ทำการคั้นเอาน้ำเพื่อนำไปใช้รักษาอาการควายท้องอืด

6.นำไปให้ควายกิน(อาจจะใช้การกรอกเข้าไปในปากก็ได้ )
** ควายเล็กขนาดเล็กประมาณ 100 cc. / ตัว.**
** ควายขนาดกลางประมาณ 300 cc. / ตัว**
** ควายขนาดใหญ่ประมาณ 500 cc. / ตัว**

7.โดยให้กินในตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง ประมาณ 2-3 วัน ควายก็จะหายจากอาการท้องอืด

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณแดง ช่วยชูหนู
ที่อยู่ :   - หมู่ที่3 ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร


การทำน้ำหมักชีวภาพบำบัดน้ำเสียในบ่อปลา

การทำน้ำหมักชีวภาพบำบัดน้ำเสียในบ่อปลา

“น้ำหมักชีวภาพ” ถือได้ว่ามีความสำคัญมากสำหรับเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการทำเกษตรรูปแบบไหน น้ำหมักจะช่วยและสร้างประโยชน์ได้ดี อาทิ การปรับปรุงคุณภาพดิน เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้และพืชที่เราปลูก ช่วยบำบัดน้ำเสียในบ่อปลา ป้องกันปลาเป็นโรค ฯลฯ ยิ่งถ้าเกษตรกรสามารถทำน้ำหมักขึ้นมาใช้เองได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี

เกษตรกรแต่ละท่านก็จะมีสูตรและวิธีการทำน้ำหมักที่แตกต่างกัน ซึ่งคุณพิโรจน์ ก็มีน้ำหมักที่เป็นประโยชน์สำหรับพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ซึ่งน้ำหมักที่ว่านี้มีส่วนผสมและวิธีการดังนี้
วัสดุ-อุปกรณ์:
•กล้วยสุก 25 กก.
•สับปะรด 25 กก.
•กากน้ำตาล 10 ลิตร
•น้ำสะอาด 10 ลิตร
•ถังสำหรับหมัก

วิธีการ :
1.นำกล้วยและสับปะรดมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก
2.จากนั้นนำไปใส่ในถังสำหรับหมัก
3.เติมกากน้ำตาลและน้ำลงไปในถังแล้วคนให้เข้ากัน
4.แล้วปิดฝาให้สนิทจากนั้นนำไปวางไว้ในที่ร่ม
5.ให้ทำการคนประมาณ 10 วัน/ครั้ง ประมาณ 45 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

ประโยชน์ : น้ำหมักชีวภาพนี้สามารถนำมาใช้ได้ในหลายๆ ด้าน เช่น ช่วยบำบัดน้ำเสียในบ่อปลา ป้องกันปลาเป็นโรค เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพดิน ฯลฯ

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณพิโรจน์ เพชรสังกิต  อายุ : 45 ปี
ที่อยู่ :  12/4 หมู่ที่5 ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร


การบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลา

การบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลา

เกษตรกรที่เลี้ยงปลาหลายๆ คนมักจะมีปัญหาในเรื่องของน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเน่าเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปลาที่เลี้ยง ทำให้ปลาโตช้า ปลาไม่กินอาหาร และอาจรุนแรงถึงขั้นปลาตายได้

ดังนั้นการบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงปลา การสังเกตน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลา น้ำในบ่อมีกลิ่นเหม็น มีน้ำเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีขาวขุ่น มีปลาลอยอยู่มี่ผิวน้ำเป็นจำนวนมากแสดงว่าน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเสียแล้วต้องรีบทำการบำบัดโดยการบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลาสามารถทำได้ดังนี้

วัสดุ-อุปกรณ์:
•กล้วยสุก 25 กก.
•สับปะรด 25 กก.
•กากน้ำตาล 10 ลิตร
•น้ำสะอาด 10 ลิตร
•ถังสำหรับหมัก

วิธีการ :
1.นำกล้วยและสับปะรดมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก
2.จากนั้นนำไปใส่ในถังสำหรับหมัก
3.เติมกากน้ำตาลและน้ำลงไปในถังแล้วคนให้เข้ากัน
4.แล้วปิดฝาให้สนิทจากนั้นนำไปวางไว้ในที่ร่ม
5.ให้ทำการคนประมาณ 10 วัน/ครั้ง ประมาณ 45 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

ประโยชน์ : น้ำหมักชีวภาพนี้สามารถนำมาใช้ได้ในหลายๆ ด้าน เช่น ช่วยบำบัดน้ำเสียในบ่อปลา ป้องกันปลาเป็นโรค เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพดิน ฯลฯ

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณพิโรจน์ เพชรสังกิต  อายุ : 45 ปี
ที่อยู่ :  12/4 หมู่ที่5 ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

สูตรการทำน้ำหมักขจัดกลิ่นเหม็นในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

น้ำหมักซาวข้าวกับเปลือกไข่ฆ่าเชื้อดับกลิ่นในคอกสัตว์

กลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์บ้านเกี๋ยงหนองข่วง ต.แม่ลอย อ.เทิง จ.เชียงราย ได้ดำเนินการเลี้ยงสัตว์แบบอินทรีย์พึ่งพิงธรรมชาติ นอกจากมีไก่พื้นเมืองอินทรีย์ มีสัตว์หลากชนิดทั้งการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ เลี้ยงปลาในกระซัง เลี้ยง หมูหลุม หมูสายพันธุ์ต่างๆ มีแหล่งเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ การทำน้ำส้มควันไม้ การปลูกผักอินทรีย์และสวนสมุนไพร ซึ่งจัดเป็นโซนอยู่ในพื้นที่เดียวกันทำให้ที่นี่ กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของสมาชิกกลุ่มและคนในหมู่บ้านและกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ประจำตำบล มีเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ดูงานกันจำนวนมาก ดังนั้นทางศูนย์จึงมีภูมิปัญญาที่เกษตรกรสามารถนำไปทำและใช้ประโยชน์ได้เอง เช่น น้ำหมักซาวข้าวกับเปลือกไข่ฆ่าเชื้อดับกลิ่นในคอกสัตว์ มีวิธีการทำ ดังนี้

น้ำซาวข้าวที่ใช้ควรเป็น น้ำที่เหลือจากการแช่ข้าวสารเหนียว 1 คืน (12 ชั่วโมง) ก่อนนำข้าวไปนึ่ง ซึ่งเหลือใช้เป็นประจำจากครัวเรือนอยู่แล้ว ที่นี่จะไม่ทิ้งให้เปล่าประโยชน์ ซึ่งรวมไปถึงเปลือกไข่ที่จะต้องใช้อีกด้วย การทำน้ำหมักซาวข้าวกับเปลือกไข่ เกษตรกรทำได้ ดังนี้
วัสดุที่ใช้ - ขวดโหลแก้วปากกว้าง ขนาด 15 ลิตร
- เปลือกไข่ตากแห้ง บี้เป็นชิ้นเล็ก พอแหลก 1 กิโลกรัม
- น้ำซาวข้าว 10 ลิตร

 
วิธีทำ – นำน้ำซาวข้าวจำนวน 10 ลิตรเทใส่ลงในโหลแก้ว จากนั้นเอาเปลือกไข่ 1 กิโลกรัมใส่ตามลงไป หมักทิ้งไว้ 8-10 วัน รินเก็บไว้ในขวด

 
ประโยชน์และการนำไปใช้ – ใช้หมักซาวข้าวกับเปลือกไข่ 3 ช้อนโต๊ะ : ต่อน้ำ 10 ลิตร พ่นเล่าไก่ไข่ จะทำให้ไก่ไม่ผลัดขน ขนไม่ร่วงง่าย
- ใช้ราดพื้นคอกสัตว์ ดับกลิ่นเหม็น หรือใช้กับหมูหลุม โดยราดน้ำหมักซาวข้าวกับเปลือกไข่ให้ทั่วก่อนใส่แกลบทั้ง 2 ชั้น
- สามารถนำไปผสมกับจุลินทรีย์ต่างๆได้




แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณสิงห์ บัณฑิตธูสกุล อายุ : 52 ปี
ที่อยู่ :  127 หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ลอย  อำเภอเทิง  จังหวัดเชียงราย

การรักษาอาการปาก-เท้าเปื่อยในกระบือด้วยสมุนไพร

การรักษาอาการปาก-เท้าเปื่อยในกระบือด้วยสมุนไพร

การเลี้ยงกระบือในช่วงฤดูฝน เป็นช่วงที่เกษตรกรผู้เลี้ยงมักพบปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากแผลติดเชื้อและลุกลามเป็นวงกว้างถ้าไม่ได้รับการรักษา โดยเฉพาะบริเวณกีบเท้าและปากของกระบือจะมีอาการปากเปื่อยเท้าเปื่อย อาการดังกล่าว ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระบือ ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องดูแลเอาใจใส่และต้องรักษาอาการของมันอย่างถูกวิธี

การรักษาอาการปากเปื่อยเท้าเปื่อยในกระบือด้วยสมุนไพร
การเลี้ยงกระบือไม่ใช่เรื่องยากเพียงแค่เรามีเวลาให้มัน และเข้าใจธรรมชาติของมัน ในช่วงเดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่กระบือมักจะเจ็บป่วยเป็นประจำ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นแฉะ ช่วงนี้ต้องมั่นดูแลความสะอาดในคอกของมันอย่างเป็นพิเศษ โรคที่พบบ่อยจะเป็นโรคเท้าเปื่อย ปากเปื่อย ลักษณะอาการของมันตรงบริเวณกีบเท้าจะเป็นแผลเปื่อย และปากของมันจะเป็นแผลเปื่อยเหมือนกัน ซึ่ง เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการรักษากระบือที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่น ดังนี้



กระบือที่มีอาการ เท้าเปื่อย กีบเท้าเป็นแผล ใช้พืชสมุนไพร ดังนี้
- นำเปลือกไม้ที่มีรสฝาด เช่นเปลือกไม้ประดู่ เปลือกต้นลูกหว้า เปลือกต้นแค นำมาสับๆให้ละเอียด ประมาณ 1 กิโลกรัม
-นำเปลือกไม้สับละเอียดที่ได้มาหมักแช่ในถังขนาด 10 ลิตร ใส่น้ำเปล่าพอท่วมหมักทิ้งไว้ 1 คืน ในปริมาณที่เข้มข้น

- หลังจาก 1 คืน กรองเอาแต่น้ำ
- นำน้ำหมักสมุนไพรที่ได้ รดตรงกีบเท้าของมันทุกเช้า-เย็น ใช้เวลาแค่ 3 วัน อาการมันจะดีขึ้น


กระบือที่มีอาการปากเปื่อย ปากเป็นแผล ใช้พืชสมุนไพร ดังนี้
- แกะเปลือกมะขามสุกเอาแต่เนื้อใน มาแช่น้ำ ให้ได้น้ำมะขามเปียกเข้มข้น นำน้ำมะขามเปียกทางปากและแผลในปากที่เปื่อย วันละ 1-2 ครั้ง ช่วงเช้าก่อนออกจากคอกและเย็นหลังกลับเข้าคอกแล้ว ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ อาการจะหายเป็นปกติ





แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณจำเริญ จันต๊ะนาเขต อายุ : 56 ปี
ที่อยู่ :  111 หมู่ที่20 ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


สูตรสมุนไพรป้องกันรักษาโรคในสัตว์

การใช้ต้นหงอนไก่ฝรั่งรักษาโรคที่เกิดกับวัว

การเลี้ยงวัวพื้นเมืองนั้นส่วนใหญ่เกษตรกรไม่ค่อยดูแลอะไรมากเพราะส่วนใหญ่วัวพื้นเมืองจะเอื้ออำนวยต่อสภาพอากาศได้ดีและอีกทั้งวัวยังมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเป็นโรค หรือถ้าเป็นโรคก็ไม่ค่อยร้ายแรงมาก วันนี้มีตับหรับยา สำหรับวัวพื้นเมืองมาฝากกัน
                                                         วัวพันธุ์พื้นเมือง
**วิธีใช้ต้นหงอนไก่ฝรั่งรักษาโรคให้วัว**
-ส่วนที่นำมาใช้

1.ก้าน
2.ใบ
3.ต้นอ่อนใช้สด เก็บได้ตลอดปี
-ตำรับยาสัตว์
1.วัวมีเลือดกำเดาออก ใช้ดอกหงอนไก่ ฝรั่งสด 3-4 ช่อ รากหญ้าคา 60-100 กรัม ดอกทานตะวัน 2-3 ดอก ต้มน้ำผสมน้ำตาลทราย 120 กรัม ป้อนให้วัวกิน
2.วัวถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ใช้ดอกหงอนไก่ฝรั่งสีขาวแห้ง 120 กรัม ข่า 30-60 กรัม ดินสุกเป็นก้อนอยู่ตามก้นเตาถ่านเผามานาน 60 กรัม นำส่วนผสมทั้งหมดบดเป็นผง ใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม ผสมน้ำให้วัวกิน
3.แม่วัวปวดท้องหลังคลอด ใช้ดอกหงอนไก่ฝรั่งสีขาวแห้ง 60 กรัม กัญชาเทศแห้ง 60-120 กรัม ใบสนผงแห้ง 120 กรัม บดเป็นผงผสมเหล้าให้วัวกิน

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณกฤษฎา รัตนสุรางค์ อายุ : 35 ปี
ที่อยู่ :  5/3 หมู่ที่3 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช


วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีการทำนำสกัดชีวภาพ

วิธีการทำนำสกัดชีวภาพ
      วัสดุและอุปบกรณ์ที่จำเป็นในการทำน้ำสกัดชีวภาพ มีดังนี้
1.   ภาชนะที่ใช้มีฝาปิดสนิท
2.   แหล่งคาร์บอนสำหรับจุลินทรีได้แก่ น้ำตาลทุกชนิด โดยเฉพาะกากน้ำตาลเพราะมีราคาถูกและมีสารอื่นๆของจุลินทรีย์รวมอยู่ด้วย
3.   พืชทุกชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้สดที่ไม่เน่าเปื่อย เช่นเปลือกแตงโม เปลือก สับประรด        เป็นต้น
4.   ของหนัง เช่น อิฐบล็อก หรือก้อนหินเป็นต้น
น้ำสกัดชวีภาพแบ่งตามประเภทของวัตุถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตมี 2ประเภท
1.   น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืช
2.   น้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์
     ขั้นตอนการผลิตน้ำสกัดชีวภาพจาก ผักผลไม้
1.   นำพืช ผัก ผลไม้ ลงผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตรา 1 ส่วนต่อพืชผักผลไม้ 3 ส่วน คลุกเค้าให้เข้ากัน
2.   ใช้ของหนักวางทับ เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ในระหว่างพืช ฟัก
3.   ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท
4.   หมัก ทิ้งไว้ 3-5 วันจะเริ่มมีของเหลวสีน้ำตาลเกิดขึ้น
5.   เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอ ประมาณ 10-14 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพลงขวดได้
6.   ควรเก็บถังหมักน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝน และแสงแดดจัด
7.   กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปทำปุ๋ยฝังบริเวณต้นไม้ได้

พืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

พืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
พืชสมุนไพรหลายชนิดนำมาใช้ป้องกันและฆ่าแมลงได้ ทดแทนสารเคมีได้อย่ามีประสิทธิภาพ การใช้พืชสมุนไพรเหล่านี้มีขั้นตอนดำเนินการง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ซึ่งหลักกว้าง การนำเนินการคือ นำส่วนต่างๆ ของพืชตามที่ระบุ ปริมาณ 1 กิโลกรัม มาทุบหรือบด แช่น้ำ 20 ลิตร (1ปี๊บ) ไว้ 1คืน เสร็จแล้วนำมากรองวัสดุออก จึงสามารถนำไปฉีดพ่นได้
                         
ชื่อพืช
ส่วนของพืช
ประสิทธิภาพ
สัปะรด
ทั้งต้น
ฆ่าแมลง
น้อยหน่า
เมล็ด
ฆ่าเหา
สะเดา
เมล็ด
ฆ่าตัวเบียน
ตะไคร้ห้อม
ใบและต้น
ไล่ยุง
ผักเสี้ยน
เมล็ด
ฆ่าแมลง
ลำใย
เมล็ด
ฆ่าเหา
โหระพา-กะเพรา
แมงลัก
ใบ
ไล่ยุง
สบู่ดำ
เมล็ด
ฆ่าแมลง
ตำแยแมว
ใบ
รักษาแผลหนอนเจาะสัตว์
ละมุด
เนื้อไม้
มีพิษต่อปลวก
ข่า
หัว
น้ำมันเป็นพิษกับแมลงวัน
กระเทียม
หัว
เป็นพิษต่อลูกน้ำยุง เห็บชนิดต่างๆ
พริกขี้หนู
ทั้งต้น
ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
เฟื่องฟ้า
กลีบดอกสด
มีพิษต่อด้วงงวง
ชุมเห็ดเทศ
ต้น
ใช้เป็นยากันมด
หญ้าแห้วหมู
หัว
ไล่แมลง
ลำโพง
ใบ
บดเป็นผงป้องกันหมัดและไร
หญ้าไร้ใบ
ดอก
กำจัดด้วง ด้วงปีกแข็ง
ทานตะวัน
ดอก
สกัดน้ำมันใช้ดุงดูดมดบางชนิด
ชบา
ดอก
เป็นพิษกับด้วงงวงขาว