แนะนำให้อ่าน

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเลี้ยงไก่เนื้อ

              การเลี้ยงไก่เนื้อ   เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง  หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้  เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา  บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก
          เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย  มีราคาถูก  นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป  นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง  ในการเลี้ยงไก่เนื้อ  ผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจว่าจะเลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์อะไร  ขนาดของฟาร์มเท่าใด  วางแผนในเรื่องของโรงเรือน  เครื่องมืออุปกรณ์  ค่าแรงงาน  ค่าน้ำ และค่าไฟ
          สำหรับบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะทำหน้าที่ผลิตลูกไก่เนื้อ  บริการอาหาร  การให้วัคซีน  การขนส่งหรือให้คำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเลี้ยงดู  จนสามารถจำหน่ายได้  พร้อมให้ผลตอบแทนแก่ผู้เลี้ยงตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
การเลี้ยงไก่เนื้อ
          สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว  มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง  14  เมตร  ยาว 100  เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี  ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม  กันหนู  และงูได้
          ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ  แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค  และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ  พักเล้าไว้ประมาณ  10  วัน  แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
          นำไก่เนื้อเกรด  A  อายุ  1  วัน  มาเลี้ยงในเล้ากก  ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ  100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ  เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น
          เมื่อครบ  10  วัน  ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิ่น  และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย  21 %  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ  3  สัปดาห์
          เมื่อไก่อายุครบ  48-50  วัน  น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ  2.2  กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน  5 %  ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้การจัดจำหน่าย
          บริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะมารับซื้อไก่เนื้อที่ฟาร์ม  เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือทำการแปรรูป  แล้วส่งขายต่อตามตลาดสดต่าง ๆ

เคล็ดลับ 
          การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี  ต้องรักษาความสะอาด  การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม  เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ  เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้
                                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คุณว่ากษตรมีความสำคัญหรือไม่