แนะนำให้อ่าน

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การปลูกผักหวาน



ชื่ออื่น : ผักหวาน (สุรินทร์) ต้นผักหวาน (สกลนคร) อาลองผักหวาน (ข่า)

ลักษณะ : ไม้พุ่มยืนต้นสูง ๕-๑๐ เมตร อายุหลายปี กิ่งและลำต้นมีใบประดับขนาดเล็ก ลำต้นสีน้ำตาลอ่อนผิวขรุขระ ใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี สีเขียวเข้มเนื้อใบกรอบ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบเป็นรูปลิ่มก้านใบสั้น ช่อดอกเกิดตามกิ่งแก่หรือตามลำต้นที่ใบร่วงไปแล้วแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือดอกลำไย ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ผลเป็นผลเดี่ยวติดกันเป็นพวงผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเหลืองอมส้ม ลักษณะผลกลมรี เมล็ดลักษณะคล้ายพุทรา

แหล่งที่พบ : ผักหวานป่าเป็นพืชที่ไม่ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำมาก ชอบที่โล่ง ดินร่วนปนทราย พบมากตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณที่สูง เชิงเขา ป่าเชิงเขาหรือป่าโปร่ง แหล่งผลิตเป็นการค้า ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ และสกลนคร



การขยายพันธุ์ : การตอนกิ่ง, การเพาะชำไหล, การเพาะเมล็ด

การปลูก : วิธีการปลูกแบ่งได้ ๓ วิธี คือ

๑.การตอนกิ่ง การตอนกิ่งของผักหวานป่าใช้เวลานาน คือ ประมาณ ๓ เดือน ขึ้นไปผักหวนป่าจุออกรากสีน้ำตาล วิธีนี้มีข้อดี คือ กิ่งที่ได้จะมีขนาดใหญ่ตามความต้องการ

๒.การเพาะชำ โดยการขุดไหลผักหวานป่าที่เกิดจากต้นแม่ หรือตัดรากผักหวานป่า ที่อยู่ในดินซึ่งเป็นรากที่ขยายจากต้นแม่เป็นท่อนๆ ยาวประมาณท่อนละ ๕-๖ นิ้ว นำไปเพาะชำประมาณ ๑ เดือน จะเริ่มแตกกิ่งและยอด

๓.การเพาะเมล็ด นำเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าที่แก่เต็มที่ขูดเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้งและขัดล้าง น้ำให้สะอาด แช่น้ำแยกเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดที่จมน้ำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำคลุกด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรากันรา นำใส่กระดังหรือตะแกรงคลุมด้วยกระสอบป่านที่ชุบน้ำหมาดๆ เก็บในที่ร่มเจาะถุงพลาสติกด้านล่าง เพราะรากจะแทงลงดิน กดเมล็ดให้จมเสมอผิวดินนำไปไว้ใต้ร่มเงาพรางแสง ๔๐-๕๐% เมื่อผักหวานป่า อายุ ๒ เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ผสมน้ำฉีดพ่นทุก ๒ อาทิตย์ เมื่อกล้าผักหวานป่าอายุได้ ๓-๔ เดือน สามารถ ย้ายปลูกได้ในช่วงนี้ รดน้ำให้น้อยลงและให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดที่เพิ่มขึ้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้นไม่เกิด ๒% รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูกประมาณ ๒ อาทิตย์ และงดให้น้ำ ๑ วัน ก่อนย้ายปลูก ควรเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือนเมษายน โดยขุดหลุมปลูกขนาด ๒๐ x๒๐ x ๕๐ เซนติเมตร ระยะปลูก ๒ x ๒ เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักครึ่งปี๊บ ผสมกับหน้าดิน ฉีกหรือถอนถุงกล้าผักหวานระวังอย่าให้ดินแตกและรากขาด วางต้นกล้าลงกลางหลุมให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ ๕ เซนติเมตร แล้วพูนดินกลบโคนโดยรอบควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว โดยหว่านกระจายโดยรอบโคนต้นรัศมี ๒๐ เซนติเมตร ต้นละปี๊บ ในช่วงต้นฤดูฝน ปีละครั้งไม่ควรใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น

การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีถอนหรือใช้มีดฟันให้ราบเมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ ก็เริ่มทำการตัดแต่ง โดยหักปลายกิ่งแขนงทิ้งไว้ให้เหลือยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร และรูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่งละ ๓-๔ ใบ พร้อมๆ กับการให้น้ำพอดินชื้น เพื่อให้แตกยอดหลังการตัดยอดออกจำหน่ายให้ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ ๑-๒ ปี๊บ หว่านรอบโคนต้นแล้วรดน้ำ

การทำให้ผักหวานป่าออกนอกฤดู ริดใบทิ้ง ช่วงยอดและใบอ่อนก็จะแตกใหม่ ในช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม ควรปล่อยให้ต้นผักหวานป่าพักตัว

โรคแมลงที่สำคัญ : หอยทาก มีลักษณะเปลือกบางสีขาว จะอาศัยอยู่ตามพื้นดินที่มีความชุ่มชื้นจะเข้าไปกัดกินยอดอ่อน ใบอ่อน และต้นอ่อน ในระยะต้นกล้าถ้ามีมากจะทำความเสียหายได้

การป้องกันกำจัด


ใช้ส่าเหล้ารด ๒-๓ วัน / ครั้ง


ใช้ปูนขาวโรยโดยรอบแปลงเพาะกล้า เพื่อป้องกันหอยจะเข้ามาทำลายต้นกล้าที่เพาะไว้

การเก็บเกี่ยว : เมื่อผักหวานมีอายุ ๓ ปี จะเริ่มให้ผลผลิต ตัดยอดอ่อนที่แตกออกยาวประมาณ ๑๕-๒๕ เซนติเมตร มาบริโภคหรือจำหน่าย

ส่วนที่ใช้บริโภค : ยอดอ่อน




ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน

ต้นทุนการผลิตทั้งหมด ๓,๔๐๐ บาท / ไร่

ผลผลิตรวม ๒๕๐ กิโลกรัม / ไร่

ราคาที่เกษตรกรขายได้ ๑๐๐ – ๑๕๐ บาท / กิโลกรัม

รายได้รวม ๒๕,๐๐๐ –๓๗,๐๐๐ บาท / ไร่ / ปี

รายได้สุทธิ ๒๑,๖๐๐ – ๓๔,๑๐๐ บาท / ไร่ / ปี
ฅนภูไท is offline  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คุณว่ากษตรมีความสำคัญหรือไม่